🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙
🐬 ความรู้ที่ได้รับ 🐬
" การจัดการทดลง เพื่อให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางวิทยาศาตร์ทั้ง 13 ทักษะ "
🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙
🐬 กิจกรรมการทดลอง 🐬
🐵 กลุ่มที่ 1 : ลูกโป่งพองโต 🐵
อุปกรณ์
1. ขวดแก้ว
2. กรดมะนาว
3. เบคกิ้งโซดา
4. ลูกโป่ง
5. น้ำเปล่า
6. ช้อนโต๊ะ
7. แก้วเปล่า
วิธีการทดลอง
1. เทเบคกิ้งโซดาลงไปในขวดแก้วทั้ง 3 ขวด ขวดละ 1 ช้อน
2. เทกรดมะนาวลงในขวดที่เทเบคกิ้งโซดาลงไป โดนแต่ละขวดจะใส่กรดมะนาวในปริมาณที่ไม่เท่ากัน โดยที่ ขวดที่ 1 ใส่ 1 ช้อน ขวดที่ 2 ใส่ 2 ช้อน ขวดที่ 3 ใส่ 3 ช้อน
3. เทน้ำเปล่าลงไปในขวดแล้วนำลูกโป่งมาปิดที่ปากขวดแต่ละขวด
4. สังเกตลูกโป่งของแต่ละขวด
ผลจากการทดลอง
การทดลองนี้มีสารที่เด็กๆ รู้จักมาบ้างแล้วจากการทดลองที่ผ่านมา คือ ผงฟู
เบคกิ้งโซดา กรดมะนาว เราได้ทำการทดลองโดยใส่สารที่มีปริมาณแตกต่างกัน
ให้เด็กสังเกตและเมื่อเติมน้ำหรือเปลี่ยนเป็นน้ำมะนาว บ้าง น้ำส้มสายชูบ้าง
ให้เด็กสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง ความแตกต่าง คุณครูได้จดบันทึกคำพูดของเด็กๆ
แทบไม่ทันทีเดียว หลังจากนั้นก็ใช้สารทุกชนิดใส่ในแต่ละขวด ใส่น้ำหรือน้ำส้มสายชู
สังเกตลูกโป่งแต่ละลูก
อุปกรณ์
1. ปล่องภูเขาไฟที่ทำจากขวดน้ำและดินน้ำมัน
2. ถาดลองภูเขาไฟ
3. สีผสมอาหาร
4. น้ำส้มสายชู
5. เบคกิ้งโซดา
วิธีการทดลอง
1. เทสีผสมอาหารลงไปในภูเขาไฟ
2. เทน้ำส้มสายชูลงไป
3. เทเบคกิ้งโซดาตามลงไป
4. สังเกตสิ่งที่จะเกิดขึ้น
ผลจากการทดลอง
ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น
เป็นผลจากการทำปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างเบคกิ้งโซดา ( ด่าง / เบส ) และน้ำส้มสายชู ( กรด ) ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
แล้วก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดันตัวออกนี้เองที่ทำให้เกิดภูเขาไฟลาวาของเรานั้นเอง
🐵 กลุ่มที่ 3 : การลอยจมของน้ำมัน 🐵
อุปกรณ์
1. ช้อน
2. น้ำ
3. น้ำมัน
4. ก้อนหิน
5. โหล ( สำหรับใส่ส่วนผสม )
วิธีการทดลอง
1. เทน้ำใส่โหล
2. เทน้ำมันตามลงไป
3. ตักก้อนหินเทลงไป 1 ช้อน
4. ปิดฝาขวกโหล และทำการเขย่าขวดโหล
5. สังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้น
ผลการทดลอง
จากาารทดลองจะเห็นได้ว่า น้ำ น้ำมัน ก้อนหิน ได้แยกชั้นกันอย่างชัดเจนเพราะน้ำมันมีน้ำหนักหรือความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจึงลอยขึ้น และก้อนหินมีน้ำหนักและความหนาแน่นมากกว่าน้ำจึงทำให้ก้อนกชหินจมลงไปอยู่ข้างล่างของโหล
ที่วัตถุแต่ละชนิดไม่ผสมกัน และแยกตัวออกจากกันอย่างชัดเจน เพราะวัตถุแต่ละชนิดมีความเป็นอิสระ
🐵 กลุ่มที่ 4 : การแยกเกลือกับพริกไทย 🐵
อุปกรณ์
1. ผ้าขนสัตว์
2. กลือเม็ดขนาดปานกลาง
3. พริกไทยป่น
4. ชามใบเล็ก
การทดลอง
1. ผสมเกลือและพริกไทยลงในถ้วยใบเล็ก
2. ถูช้อนพลาสติกด้วยผ้าขนสัตว์
3. ถือซ้อนไว้เหนือส่วนผสมของพริกไทยและเกลืออย่าถือช้อนไว้ใกล้กับส่วนผสมมากเกิน
4. สังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้น
ผลการทดลอง
ปรากฏการณ์หลายอย่างในชีวิตจำวันของเรานั้นมีสาเหตุจากไฟฟ้าสถิตไฟฟ้าสถิตเป็นประโยชน์กับเราเราจะแยกสารทั้งสองออกจากกันได้อย่างไรจึงทำการทดลองสร้างไฟฟ้าสถิตแล้วใช้ไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นแยกเกลือและพริกไทยออกจากกันได้ โดนพริกไทยจะลอยขึ้นมาติดช้อน และเกลือจะค่อยๆหลุดลงมา
🐵 กลุ่มที่ 5 : ภาพเคลื่อนไหวในแสงสีแดงและสีเขียว 🐵
อุปกรณ์
1. ปกใสสีแดง และ สีเขียว
2. สีไม้สีแดง และ สีเขียว
3. กระดาษ A4
การทดลอง
1. วาดรูปลงในกระดาษโดยใช้สีไม้สีแดงและสีเขียว
2. นำปกใสสีแดงวางทับบนกระดาษที่เราได้ทำการวาดรูป
3. เปลี่ยนเป็นนำปกสีเขียววางทับกระดาษที่เราวาดรูป
4. สังเกตุและเปรียบเทียบข้อแตกต่างของสิ่งที่เกิดขึ้น
ผลการทดลอง
มีการเปลี่ยนสีของสีไม้เป็นสีดำ ถ้าใช้สีเดียวกันปิดสีเดียวกันเพราะเป็นการดูดกลืนแสงทำให้ไม่มีแสงส่งมากระทบที่ดวงตาของเราทำให้เรามองไม่เห็นสี
เมื่อใช้ปกใสสีเขียววางทับส่วนที่วาดด้วยสีไม่สีแดง แสงสีเขียวจะดูดกลืนแสงสีแดงกลายเป็นสีดำ
🐵 กลุ่มที่ 6 : ลูกข่างแสนสนุก 🐵
อุปกรณ์
1. แผ่นซีดี
2. กระดาษที่ตัดคล้ายแผ่นซีดี
3. สีไม้
4. ลูกแก้ว
5. กินน้ำมัน
6. ปืนกาว
การทดลอง
1. ระบายสีลงในกระดาษที่เตรียมไว้ ให้เต็มแผ่น
2. นำกระดาษที่ระบายสีเรียบร้อบแล้วติดลงบนแผ่นซีดี
3. นำลูกแก้วไปติดไว้ตรงรูของแผ่นซีดีด้านล่างแล้วใช้ดินน้ำมันยึดและใช้ปืนกาวยิงอีกที
4. ทำการหมุนแผ่นซีดี แล้วสังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้น
ผลการทดลอง
จากการทดลองจะเห็นได้ว่า สีที่เราระบายลงบนแผ่นกระดาษนั้น พอเราหมุนลูกข่างแล้วสีทั้งหมดจะผสมกันกลายเป็นสีเดียวกกัน เนื่องจากการ การทำงานของดวงตาของเรา ถ้าวัตถุเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ตาของเราจแยกสีที่เห็นไม่ทันจึงทำให้เราเห็นสีต่างๆ ผสมเป็นสีเดียวกัน
🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙
🐬 คำศัพท์ 🐬
1. Test การทดลอง
2. Acid กรด
3. Pepper พริกไทย
4. Float ลอย
5. Sink จม
🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙
🐬 การประเมิน 🐬
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้เสนองาน และคอยให้คำแนะนำ และบอกวิธีการตั้งคำถาม
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความสนใจกับงานของเพื่อนกลุ่มอื่นที่นำเสนอได้ดี
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อน และ ตั้งใจนำเสนองานของตนเอง
🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙🐙
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น