วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สรุปงานวิจัย





💜💜  สรุปวิจัย   💜💜

ชื่องานวิจัย :การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะการสื่อสารของเด็กประถมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบ 5 E

ของ : สวาท สมะวรรธนะ

เสนอต่อ : การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม 2560


 🌰 วัตถุประสงค์ :
1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้านทักษะการสังเกตุและทักษะการจำแนกที่ได้รับ การจัดประสบการณ์ 5 E
2. เพื่อศึกษาทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบ 5 E
3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบ 5 E
4. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดแบบ 5 E


🌰 สมมติฐาน : 
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการสื่อสารของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์แบบ 5 E


🌰 ประชากร และ กลุ่มตัวอย่าง :

          ประชากร
นักเรียนที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

          กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่หนึ่งปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านตอรัง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จำนวน 20 คน


🌰 เครื่องมือในการวิจัย :
          เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดประสบการณ์แบบ 5E เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัยจำนวน 16 แผ่น
          เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
1. แบบทดสอบวัดความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการสังเกตุ 8 ข้อ ด้านทักษะการจำแนก 8 ข้อ
2. แบบทดสอบวัดความสามารถด้านทักษะการสื่อสาร 4 ข้อ


🌰 สรุป :
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบ 5E มีระดับความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบ 5 E มีระดับความสามารถด้านทักษะการสื่อสารอยู่ในระดับดีมาก
3. เด็กประถมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบ 5E มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบ 5E มีทักษะการสื่อสารคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01





วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สรุปบทความ


🍎🍏  สรุปบทความ  🍏🍎



🍎 กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย 🍎


           เด็กปฐมวัยควรจะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการค้นคว้าหาความรู้ เพื่อที่จะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ และ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และ จะได้มีโอกาสพัฒนา และ ประยุกต์ความรู้เหล่านั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต


          สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา (2551) นำเสนอ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ครูและผู้ปกครองควรจะส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย 
ประกอบด้วย


      🍏 1. ทักษะการสังเกต หมายถึง การสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กทารกจะใช้สายตาสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่โดยรอบ ใช้มือสัมผัสสิ่งต่างๆอย่างสนใจ หรือ อาจจะหยิบสิ่งต่างๆรอบตัวมาบีบ กัด ดมเล่น ซึ่งทุกครั้งที่มีโอกาสกระทำเช่นนั้น ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และ นำไปสู่ การพัฒนาความคิดในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

      🍏 2.  ทักษะการจำแนกประเภท เป็นทักษะการแบ่งกลุ่มโดยมีเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

      🍏 3.  ทักษะการทำนาย เป็นทักษะการคาดคะเนคำตอบก่อนจะพิสูจน์ด้วยการทดลอง โดยอาศัยประสบการณ์เดิม ความรู้เดิมมาช่วยทำนาย

      🍏 4.  ทักษะการวัด เป็นการเลือกใช้เครื่องมือ วัดหาปริมาณ น้ำหนัก ความสูง ความยาว ของสิ่งต่างๆ โดยในระดับปฐมวัย อาจจะใช้เครื่องมือวัดที่ไม่เป็นมาตรฐาน เช่น ใช้คืบมือ ใช้คลิปมาต่อกัน เป็นต้น

      🍏 5. ทักษะการคำนวณ ซึ่งหมายถึงการนับจำนวนของวัตถุ และ นำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกัน

      🍏 6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และ จากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำใหม่ และ นำเสนอเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย

      🍏 7. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติของวัตถุ ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่งและระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งหรือมิติของวัตถุกับเวลาที่เปลี่ยนไป

      🍏 8. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล หมายถึง การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย



          การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย ครูผู้สอนควรจะต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จริงโดยประสบการณ์ที่จัดให้แก่เด็กนั้นจะต้องมีความหมายต่อเด็ก เป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับสิ่งที่เคยเรียนรู้ เคยพบเห็น และ สามารถนำมาปรับใช้ได้ในอนาคต

          การประกอบอาหาร เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กได้รับประสบการณ์ตรงตั้งแต่ขั้นเตรียมอุปกรณ์ และ ส่วนผสม  ส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารก็ล้วนแต่เป็นของจริง ทำให้เด็กเกิดความสนใจ และ ช่วยทำให้เด็กจดจำง่าย  ในขณะทำอาหาร เด็กต้องใช้การสังเกตปริมาณส่วนผสม ส่วนประกอบของอาหารที่จะทำ รวมถึงการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่นำมาทำเป็นอาหาร การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ การเปรียบเทียบรสชาติ ในขณะทำอาหาร  โดยธรรมชาติของเด็กปฐมวัย จะมีความคิด การใช้ภาษาอย่างจำกัด ทำให้เด็กอาจจะไม่สามารถถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจ และ ความต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายนัก การใช้คำถาม จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยทำให้ ครู และ ผู้ปกครอง มีความเข้าใจเด็กมากยิ่งขึ้น คำถามที่ท้าทาย และ กระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้ จะส่งเสริมให้เด็กคิดหาคำตอบ ด้วยวิธีการทดลอง ลงมือทำ หรือ หาคำตอบจากแหล่งข้อมูลต่างๆ

          ในขั้นตอนการทำอาหาร ครูอาจจะส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ทักษะการทำนาย โดยให้เด็กๆได้ช่วยกันคาดคะเนวางแผนก่อนลงมือทำอาหาร โดยตั้งคำถามว่า ถ้าหากใส่น้ำตาลลงไปในขณะที่น้ำยังร้อนอยู่ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
กิจกรรมประกอบอาหารที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ และ เหมาะสมกับระดับปฐมวัย ควรจะเป็นกิจกรรมที่มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนที่เด็กสามารถลงมือทำด้วยตนเอง
จะเห็นว่า นอกจากกิจกรรมการประกอบอาหารจะส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ และ สนุกกับการเป็นผู้ลงมือทำอาหารด้วยตนเองแล้ว กิจกรรมประกอบอาหารยังส่งเสริมให้เด็กๆได้พัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย




วันพุธ ที่ 27 พฤศจิกายน 2562

❄️ บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 ❄️ 💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜 ❄️ ความรู้ที่ได้รับ ❄️ วันนี้อาจารย์ให้มารับ...