วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2562

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562

🎸 บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 🎸




🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷


🎸 ความรู้ที่ได้รับ 🎸





          วันนี้อาจารย์ให้นั่งกันเป็นกลุ่มตามที่ได้แบ่งกลุ่มกันไว้ เพื่อที่จะให้แต่ละกลุ่มได้ช่วยกันหาข้อมูลตามหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย โดยกลุ่มของดิฉันรับผิดชอบเรื่องของ  "เสียง" จากนั้นอาจารญืให้เวลาในการหาข้อมูลพร้อมมอบหมายให้รวบรวมข้อมูลที่ได้ส่งลงไปในเว็บไซต์ที่อาจารย์ให้ส่งงาน 




🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷


🎸 เสียง 🎸


🎺 แหล่งที่มาของการเกิดเสียง

แบ่งได้เป็น4 อย่าง

   🎵 1. เสียงที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ 
          ได้แก่ การกระทบของน้ำกับก้อนหิน เสียงจากลมพัดใบหญ้า เสียงฝนตก เสียงฟ้าผ่า เสียงคลื่นทะเล เสียงต้นไม้เสียดสีกัน

   🎵 2. เสียงที่เกิดขึ้นจากสัตว์  
          หมายถึง เสียงร้องของสัตว์ต่างๆ

   🎵 3. เสียงที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ 
          หมายถึง การกระทำของมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ เสียงจากการเป่าริมฝีปาก เสียงจากการปรบมือ เสียงจากการย่ำเท้า เป็นต้น

   🎵 4. เสียงที่เกิดจากการบรรเลง 
          หมายถึง การที่มนุษย์นำวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียง



🎺คุณสมบัติของเสียง

          เสียงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลาง ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติเหมือนคลื่น คือ

   🎵 1. การสะท้อน 
          เนื่องจากเสียงเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง เมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวาง จะทำให้เกิดการสะท้อนของเสียง และปัจจัยที่มีผลต่อการสะท้อนของเสียง ได้แก่
          🎻   1. ลักษณะพื้นผิวที่คลื่นเสียงไปกระทบ (ผิวเรียบและแข็ง สะท้อนได้ดี ส่วนผิวอ่อนนุ่มเนื้อพรุน จะดูดซับเสียงได้ดี)
          🎻   2.มุมตกกระทบกับระนาบสะท้อนเสียง (เสียงจะสะท้อนได้ดี เมื่อ มุมของเสียงสะท้อนเท่ากับมุมของเสียงตกกระทบ)

   🎵 2. การหักเห
          เมื่อเสียงเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย (อากาศ) เข้าสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า(น้ำ)  เสียงจะหักเหออกจากเส้นตั้งฉาก 

    🎵 3. การสอดแทรก
          การแทรกสอดของเสียงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากคลื่นเสียงที่มาจากแหล่งกำเนิดเสียงตั้งแต่ 2แหล่งขึ้นไปรวมกัน จึงเกิด การแทรกสอดแบบเสริมกัน และหักล้างกัน ทำให้เกิดเสียงดัง และ เสียงค่อยในกรณีที่เป็นเสียงเสริมกัน ตำแหน่งที่มีการเสริมกันจะมีเสียงดัง ส่วนตำแหน่งที่แทรกสอดแล้วหักล้างกันจะมีเสียงค่อย

    🎵 4. การเลี้ยวเบน
          การเลี้ยวเบนของเสียงมักจะเกิดพร้อมกับการสะท้อนของเสียง เสียงที่เลี้ยวเบน จะได้ยินค่อยกว่าเดิม เพราะพลังงานของเสียงลดลง
ในชีวิตประจำวันที่เราพบได้อย่างเสมออย่างหนึ่งคือการได้ยินเสียงของผู้อื่นได้โดยไม่เห็นตัวผู้พูด เช่น ผู้พูดอยู่คนละด้านของมุมตึก

🎺ประเภทของเสียง

   🎵 1. 
เสียงดังแบบต่อเนื่อง (continuous Noise)
          เป็นเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (steady-state Noise) และเสียงดีงต่อเนื่องที่ไม่คงที่  (Non steady state Noise)
          🎻 1. เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Steady-state Noise) เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มีระดับเสียง เปลี่ยนแปลง ไม่เกิน 3 เดซิเบล เช่น เสียงจากเครื่องทอผ้า เครื่องปั่นด้าย เสียงพัดลม เป็นต้u
          🎻 2. เสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่  (Non-steady state Noise)  เป็นลักษณะเสียงดังต่อเนื่องที่มี ระดับเลียงเปลี่ยนแปลงเกินก่า  10 เดชิเบล  เช่น เสียงจากเลื่อยวงเดือน    เครื่องเจียร    เป็นต้น

   🎵 2. เสียงดังเป็นช่วงๆ (lntermittent Noise)
          เป็นเสียงที่ดังไม่ต่อเนีอง มีความเงียบหรีอเบากว่าเป็นระยะๆลลับไปมา เช่น เสียงเครื่องปั๊ม/อัดลม เสียงจราจร เสียงเครื่องบินที่บินผ่านไปมา เป็นต้น

   🎵 3.
เสียงดังกระทบ หรือ กระแทก (lmpact or lmpulse Noise) 
          เป็นเสียงที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว ในเวลาน้อยกว่า 1 วินาที มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงมากกว่า 40 เดชิเบล เช่น เสียงการตอกเสาเข็ ม การปั๊มชิ้นงาน การทุบเคาะอย่างแรง เป็นต้น



🎺ประโยชน์ของเสียง

   🎵 1. 
เสียงด้านวิศวกรรมและอุตสาหกรรม
          วิศวกรใช้คลื่นเหนือเสียงในการตรวจสอบรอยร้าวหรือรอยตำหนิในโลหะ แก้วหรือ เซรามิก โดยการส่งคลื่นเสียงที่มีความถี่ในช่วง 500 กิโลเฮิรตซ์ ถึง 15เมกะเฮิรตซ์ ผ่านเข้าไปในชิ้นงาน ที่ต้องการตรวจสอบ แล้ววิเคราะห์ลักษณะของคลื่นสะท้อน หรือวิเคราะห์ลักษณะคลื่นที่รบกวนในคลื่นที่ผ่านออกไป วิธีนี้นอกจากจะใช้ตรวจสอบชิ้นงานประเภทโลหะหล่อ หรือเซรามิกแล้ว ยังถูกนำไปใช้ตรวจสอบยางรถยนต์ที่ผลิตใหม่ด้วย  เครื่องมือวัดความหนาของแผ่นโลหะ หรือวัสดุที่มีความแข็งอื่นๆ สามารถทำได้โดย ใช้คลื่นเหนือเสียง แม้คลื่นจะไม่สามารถทะลุถึงอีกด้านหนึ่ง ของผิวหน้าแผ่นโลหะนั้นได้ก็ตาม เช่น การตรวจสอบความหนาของหม้อต้มน้ำความดันสูงสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น
คลื่นเหนือเสียงพลังงานสูงยังถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในการทำความสะอาดผิวของเครื่องใช้ขนาดเล็ก เช่น ชิ้นส่วนในนาฬิกาข้อมือและแว่นตา เป็นต้น เพื่อให้อนุภาคสกปรกที่จับเกาะผิวสั่นด้วยพลังงานของคลื่นเหนือเสียง เพราะความถี่ธรรมชาติของอนุภาคสกปรกตรงกันกับความถี่ธรรมชาติคลื่นเหนือเสียง  คลื่นจึงทำให้อนุภาคสกปรกเหล่านั้นหลุดจากผิวโลหะไปลอยปะปนไปในของเหลวที่โลหะแช่อยู่

   🎵 2. ด้านการแพทย์
          การใช้เสียงย่านความถี่อุลตราโซนิค(เกิน 20,000 Hz) ในการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์  โดยอาศัยหลักการส่งคลื่นเข้าไปกระทบกับอวัยวะภายใน แล้อาศัยคุณสมบัติการสะท้อนของเสียงออกมา แล้วไปแปลงสัณญาณด้วยความพิวเตอร์เป็นภาพให้เห็นได้ เช่น การตรวจหาเนื้องอกในร่างกาย , ตรวจลักษณะความสมบูรณ์และเพศของทารกในครรภ์การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง(Echocardiography)
เป็นการตรวจหัวใจโดยใช้เครื่องมือที่มี ประสิทธิภาพสูง ทำงานโดยอาศัยหลัก การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งส่งออก มาจาก ผลึกแร่ชนิดพิเศษ และเมื่อรับสัญญานคลื่นเสียงที่ส่งออกไป นำมาแปรสัณญาน เป็นภาพขึ้น จะทำให้สามารถเห็นการทำงาน ของหัวใจ ขณะกำลังบีบตัว และคลายตัว และโดยการใช้เทคโนโลยีอันทันสมัย ทำให้ เราสามารถเห็น การไหลเวียนของเลือดผ่านช่องหัวใจ ห้องต่างๆเป็นภาพสี และเห็นการทำงาน ปิด-เปิด ของลิ้นหัวใจทั้งสี่ลิ้นได้

   🎵 3. ด้านการประมงค์และสำรวจใต้น้ำ
          ส่งคลื่นเสียง ลงไปใต้น้ำเพื่อการตรวจหาฝูงปลา และสิ่งแปลกปลอมกีดขวางภายใต้ทะเลลึกและการวัดความลึกของท้องทะเลโดยใช้หลักการของการสะท้อนเสียง ซึ่งเรียกกันว่า “ระบบโซนาร์”

   🎵 4.  ด้านสถาปัตยกรรม    
          ดังที่กล่าวมาแล้วในเรื่องการสะท้อนของเสียงว่า เสียงสะท้อนจากผนัง พื้น เพดาน ทำให้เกิดเสียงก้อง ดังเช่นการร้องเพลงในห้องน้ำที่มีผนังและพื้นมีกระเบื้องปู จะมีเสียงก้องจึงเหมาะกับการร้องเพลง เพราะทำให้ผู้ร้องเกิดความรู้สึกว่าการร้องเพลงในห้องน้ำเพราะกว่าการร้องใน ห้องธรรมดา ดังนั้น ห้องสำหรับฟังเพลงหรือร้องเพลงต้องมีการให้เสียงก้องเกิดขึ้นมากกว่าห้อง ทั่วไป แต่ก็ต้องมีค่าพอเหมาะสมไม่มากเกินไปจนฟังเพลงไม่รู้เรื่อง หรือเกิดความรำคาญ การออกแบบอาคาร ห้องประชุม  ทั้งสถาปนิกและวิศวกรก็ต้องคำนวณล่วงหน้าว่าให้มีเสียงก้องมากหรือน้อยเพียง ใด โดยการใช้วัสดุเก็บเสียง เช่น พรม ม่าน แผ่นกระดาษเก็บเสียง ฯลฯ เพื่อช่วยทำให้เวลาที่เกิดเสียงก้องพอเหมาะก่อนที่เสียงก้องจะจางหายไป

   🎵 5. ด้านธรณีวิทยา
          ในการสำรวจแหล่งแร่ด้วยการวิเคราะห์ชั้นหินต่างๆ นักธรณีวิทยาใช้วิธีการส่งคลื่นเสียงที่มีพลังงานสูงซึ่งได้จากการระเบิดของ ลูกระเบิดขนาดเล็กที่บริเวณผิวโลก คลื่นเสียงที่เกิดจากการระเบิดนี้จะทะลุผ่านชั้นต่างๆ ของเปลือกโลกลงไป เพราะเปลือกโลกประกอบด้วยชั้นหินที่มีลักษณะและความหนาแน่นแตกต่างกัน ทำให้คลื่นสะท้อนที่แต่ละชั้นของเปลือกโลกมีลักษณะแตกต่างกัน คลื่นเสียงสะท้อนนี้เมื่อกลับถึงผิวโลกจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าสู่ อุปกรณ์เพื่อวิเคราะห์ต่อไป และผลที่ได้จะถูกนำมาเป็นข้อมูลหนึ่งของลักษณะชั้นหินต่างๆ ใต้ผิวโลก



🎺มลพิษทางเสียงมีอันตรายต่อสุขภาพและระบบการได้ยิน

   🎵 ผลเสียต่อการได้ยินดังนี้
          🎻 1. หูตึงหรือหูอื้อชั่วคราว 
คืออาการที่เกิดขึ้น เนื่องจากเสียงที่ดังนั้นยังไม่ดังมากและนานพอที่จะทำลายเซลล์ประสาทของหูได้อย่างง่ายดาย
          🎻 2. หูตึงหรือหูหนวกอย่างถาวร
อาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากได้ฟังเสียงที่ดังมากเกินไปจนทำลายเซลล์ประสาทหูไปอย่างถาวรและไม่สามารถกลับมาได้ยินเหมือนเดิม
          🎻 3. หูตึงหรือหูอื้อแบบเฉียบพลัน
อาการหูหนวกอย่างเฉียบพลันซึ่งเกิดจากการได้รับฟังเสียงที่ดังเกินไปจนทำให้แก้วหูฉีกขาด เช่น เสียงระเบิด เสียงประทัด

    🎵 อันตรายต่อสุขภาพทั่วไปและจิตใจ
          เสียงที่ดังเกินไปจะรบกวนการนอนหลับและการพักผ่อน ส่งผลทำให้หงุดหงิด มีความเครียด อีกทั้งยังรบกวนการทำงานทำให้งานมีประสิทธิภาพด้อยลง และเสียงดังมากๆ ยังทำให้ความดันสูง เกิดโรคหัวใจ ชีพจรเต้นผิดปกติ เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้



🎺แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางเสียง 

   🎵 1. กำหนดและบังคับใช้มาตรฐานระดับความดัง
          ในสถานที่ต่างๆไม้ให้เกินค่ามาตรฐาน เพื่อลดอันตรายของเสียงที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและการได้ยิน

   🎵 2. ควบคุมแหล่งกำเนิดเสียง 
          เช่น ควบคุมเสียงที่เกิดจากยานพาหนะ โดยผู้ใช้รถทุกคันต้องตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ของตนให้อยู่ในสภาพที่ดี ไม่ดัดแปลงท่อไอเสียให้เกิดเสียงดังรบกวนผู้อื่น โรงภาพยนตร์และสถานบันเทิงไม่ควรเปิดเสียงเครื่องเสียงที่ดังเกินค่ามาตรฐาน รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมควรเลือกใช้เครื่องจักรหรือเครื่องมือต่างๆที่เกิดเสียงดังรบกวนน้อยที่สุด

   🎵 3. สำรวจและตรวจสอบตามแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ
          เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้เกิดมลพิษทางเสียง

   🎵 4. หลีกเลี่ยงการอยู่ในแหล่งที่เสียงดังเป็นเวลานานๆ 
          แต่หากถ้าจำเป็นต้องอยู่หรือต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับเสียงดังมากๆ ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันหู เช่นที่ครอบหู ที่อุดหู เพื่อลดอันตรายจากความดังของเสียง



🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷


🎸 ภาพบรรยากาศในชั้นเรียน 🎸








🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷


🎸 คำศัพท์ 🎸

1. Sound             เสียง
2. Noise              สัญญาณรบกวน
3. Steady            ความมั่นคง คงที่
4. State               สถานะ
5. lmpact            ส่งผลกระทบ
6. lmpulse          แรงกระตุ้น
7. lntermittent    เป็นระยะ
8. Continuous    ความต่อเนื่อง
9. Hertz              เฮิรตซ์



🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷


🎸 การประเมิน 🎸

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์จัดเวลาในการสอนได้ดี และีการกระตุ้นนักศึกษาอยู่ตลอด

ประเมินเพื่อน : วันนี้เป็นการเรียนรวม 2 กลุ่มเรียน เพื่อนมีจำนวนเยอะ ทำให้มีเสียงดังบ้าง แต่ก็ตั้งใจทำงาน 

ประเมินตนเอง :  ตั้งใจหาข้อมูลตามที่อาจารย์สั่ง และมีการแบ่งหน้าที่ได้



🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷🎷












         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วันพุธ ที่ 27 พฤศจิกายน 2562

❄️ บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 ❄️ 💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜 ❄️ ความรู้ที่ได้รับ ❄️ วันนี้อาจารย์ให้มารับ...