วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2562

วันพูธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

🌽 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 🌽





🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵


🌽 ความรู้ที่ได้รับ 🌽





          อาจารย์ให้จับกลุ่ม 6 กลุ่มโดยมี 3 กลุ่มที่มีสมาชิก 5 คน และอีก 3 กลุ่มมีสมาชิก 4 คน เมื่อจับกลุ่มเรียบร้อย ให้ถ่ายรูปเพื่อนในสมาชิก และ บอกชื่อสมาชิกในกลุ่ม ลงใน www.padlet.com ที่อาจารย์สร้างไว้ จากนั้นให้แต่ละคนแสดงความคิดเห็นว่า การจัดประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ควรมีเรื่องอะไรบ้าง


                          


          จากนั้นอาจารย์ให้นึกเพลงมาเพลงนึง แล้วให้ทำท่าประกอบเพลงตามที่อาจารย์บอก จากนั้นก็ให้ทำตั้งแต่ท่าแรก จนไปถึงท่าสุดท้ายแล้วให้วนกลับมาท่าแรกวนไปจนจบเพลง ซึ่งวิธีนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ โดยวิธีนี้สอดคล้องกับการทำงานของสมองที่ใช้เพลงเป็นสื่อในการให้เด็กได้แสดงออกทางด้านร่างกายซึ่งทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้

          การเรียนรู้ เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มาเป็นเครื่องมือให้เกิดการเรียนรู้โดยต้องมีความสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กโดยเริ่มจากง่ายไปยาก ดังเช่น


🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵




 🌽ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์🌽

     พัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่

     🌾 1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) 
          เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น

     🌾 2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) 
          ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่

     🌾 3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) 
          เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสอง ปลาย เช่น ปานกลาง น้อย

    🌾  4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) 
          เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้

     🌾 5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) 
          ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง

    🌾  6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) 
          เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน


          จากทฤษฎีของเพียเจต์เมื่อเด็กได้ลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะทำให้เด็กเกิดการซึมซับรับ และเกิดเป็นปรับโครงสร้างทำให้เกิดเป็นความรู้ใหม่และเด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อความอยู่รอด

          จากนั้นอาจารย์ให้ออกไปจับฉลากเพื่อเลือกหัวข้อของงานกลุ่มที่จะต้องรับผิดชอบ โดยมีหัวข้อดังนี้

     🌈 1. เครื่องกล
     🌈 2. แสง
     🌈 3. น้ำ
     🌈 4. อากาศ
     🌈 5. ดิน
     🌈 6. เสียง


          โดยให้ไปหาข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งที่มา คุณสมบัติ ประโยชน์ ผลกระทบ และการดูแลรักษา และหาสื่อการเรียนรู้มาใช้ประกอบในการจัดประสบกาณ์ให้เด็ก



🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵



🌽 คำศัพท์ 🌽


1. Absolute แน่นอน
2. Opposition ฝ่ายค้าน
3. Discrete ไม่ต่อเนื่อง
4. Variation การเปลี่ยนแปลง
5. Function ขั้นตอน
6. Exact แน่นอน
7. Differences ข้อแตกต่าง
8. Degree ระดับ
9. Compensation ค่าตอบแทน
10. Take action ลงมือปฏิบัติ





🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵



🌽 การประเมิน 🌽


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์หยิบยกตัวอย่างต่างๆมากมายเพื่อที่จะให้เราเข้าใจ และอธิบายให้ฟังคนกว่าจะเข้าใจ อาจารย์ใจเย็นมาก 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน คอยอธิบายและให้ความช่วยเหลือกันในเรื่องที่เพื่อนตามไม่ทัน 

ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจเวลาที่อาจารย์อธิบาย



🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วันพุธ ที่ 27 พฤศจิกายน 2562

❄️ บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 ❄️ 💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜 ❄️ ความรู้ที่ได้รับ ❄️ วันนี้อาจารย์ให้มารับ...