🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺
🍑 ความรู้ที่ได้รับ 🍑
วิทยาศาสตร์คือสิ่งต่างๆรอบตัวเราทั้งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
เนื้อหาสาระสำคัญแบ่งเป็น 4 กลุ่ม
🌈 1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อและเพศของตนเองการเรียกชื่อส่วนต่างๆของใบหน้าและร่างกายการดูแลตนเองเบื้องต้นโดยมีผู้ใหญ่ให้การช่วยเหลือ
🌈 2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อม
เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลภายในครอบครัวและบุคคลภายนอกครอบครัวการรู้จักชื่อเรียกหรือสรรพนามแทนตัวของญาติหรือผู้เลี้ยงดูวิธีการปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
🌈 3. ธรรมชาติรอบตัว
เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการสำรวจสิ่งต่างๆในธรรมชาติรอบตัวเช่น
สัตว์ พืช ดอกไม้ ใบไม้ ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
🌈 4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อของเล่นของใช้ที่อยู่รอบตัวการเชื่อมโยงลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างง่ายของสิ่งต่างๆที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเช่น
สี รูปร่าง รูปทรง ขนาด ผิวสัมผัส
🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺
วิทยาศาสตร์มีความสำคัญกับการดำรงชีวิต เพราะในชีวิตประจำวันของเราได้นำวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างมากมายเช่นการประดิษฐ์สิ่งของต่างๆซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น
🌈 พื้นที่ใดที่วิทยาศาสตร์เข้าไม่ถึงพื้นที่นั้นจะคงไว้ซึ่งธรรมชาติ 🌈
🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺
🍑 ทักษะขั้นมูลฐาน
8 ทักษะ 🍑
ได้แก่
วิธีการสอน
👉 การตั้งคำถามเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กมีความสนใจ
👉 การให้เด็กได้เจอของจริงโดยครูเป็นผู้เตรียมการค่อยเตรียมสื่อเตรียมวัสดุซึ่งเรียกว่าครูคือผู้อำนวยความสะดวก
(facilitators)
ตัวอย่างกิจกรรม
ตัวอย่างกิจกรรม
👉 การเป่าสี เป็นการผสมสี สีตามธรรมชาติ
👉 การประดิษฐ์นาฬิกาทราย เป็นการสังเกตการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีขนาดเล็ก
👉 การพิมพ์ภาพ
- การพิมพ์ลายนิ้วมือเด็กได้สังเกตเกี่ยวกับส่วนต่างๆของร่างกายโดยแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
- การพิมพ์ใบไม้ใบไม้แต่ละใบมีลายที่แตกต่างกัน
👉 การปั้น เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวัสดุที่นำมาปั้นว่ามีลักษณะอย่างไรเวลาที่ให้เด็กปั้นอะไรในเดือนอาการเด็กจะตั้งจากสิ่งที่เคยพบเห็นเช่นเครื่องบินบ้านซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากวิทยาศาสตร์เพราะวิทยาศาสตร์คือสิ่งต่างๆรอบตัวของมนุษย์
👉 การพิมพ์ภาพ
- การพิมพ์ลายนิ้วมือเด็กได้สังเกตเกี่ยวกับส่วนต่างๆของร่างกายโดยแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
- การพิมพ์ใบไม้ใบไม้แต่ละใบมีลายที่แตกต่างกัน
👉 การปั้น เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวัสดุที่นำมาปั้นว่ามีลักษณะอย่างไรเวลาที่ให้เด็กปั้นอะไรในเดือนอาการเด็กจะตั้งจากสิ่งที่เคยพบเห็นเช่นเครื่องบินบ้านซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากวิทยาศาสตร์เพราะวิทยาศาสตร์คือสิ่งต่างๆรอบตัวของมนุษย์
🌈 2. การวัด คือการหาค่าและปริมาณ
วิธีการสอน
วิธีการสอน
👉 ครูจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการวัดชั่งตวงให้แก่เด็กครูต้องศึกษาข้อมูลว่าต้องทำอย่างไรหรือควรไปจัดการเรียนรู้ที่ใดหรือควรจัดสถานการณ์อย่างไร
ตัวอย่างการจัดกิจกรรม
👉 ผลไม้
- การชั่งน้ำหนัก การนับจำนวน การเปรียบเทียบ
- สีของผลไม้ที่สัมพันธ์กับอายุเช่นผลไม้ที่ยังไม่สุกจะมีสีเขียวพอเริ่มแก่จะมีสีเหลืองแกไปจะเป็นสีน้ำตาลหรือดำ
- รสชาติของผลไม้ชนิดต่างๆ
- การสำรวจจำนวนว่าเด็กชอบผลไม้ชนิดใดบ้าง
🌈 3. การใช้ตัวเลขหรือการคำนวณ กล่าวคือ คณิตศาสเป็นเครื่องมือหนึ่งทางวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างการจัดกิจกรรม
👉 ผลไม้
- สีของผลไม้ตามอายุ เป็นการนับว่าผลเม้จากดิบไปสุกต้องใช้เวลากี่วันกว่าสุกไปเน่าใช้เวลากี่วัน
- การตรวจสอบจำนวนว่าเด็กชอบผลไม้ชนิดนี้กี่คนชอบอีกชนิดกี่คนชอบชนิดไหนมากกว่ากันและชอบมากกว่าที่คนชอบน้อยกว่ากี่คน
🌈 4. การจำแนกประเภท
ต้องใช้การตั้งเกณฑ์ขึ้นมาเป็นตัวกำหนดหมวดหมู่ในการจัดหมวดหมู่เช่นการใช้สีเป็นเกณฑ์การใช้รูปร่างเป็นเกณฑ์การใช้รูปทรงเป็นเกณฑ์
🌈 5. การใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปคกับสเปคและสเปคกับเวลา (สเปค = พื้นที่)
👉 สเปคกับสเปค เช่น การสังเกตแอปเปิ้ลถ้าดูจากภายนอกจะเห็นว่าเป็นทรงกลมเพราะเราผาพึ่งจะเห็นรูปร่างที่แตกต่างออกไปจะเห็นส่วนข้างในจะมีเนื้อหามีเมล็ด
👉 สเปคกับเวลา เช่น การวิ่งในสนามการวิ่งในระยะสั้นแต่ใช้เวลานานเท่ากับว่าเราวิ่งช้าแต่ถ้าใช้ระยะเวลาที่เร็วและสถานที่กว้างแสดงว่าเราวิ่งเร็ว
🌈 6. ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตุ การวัด
การทดลอง มาจัดกระทำใหม่ โดยอาศัยวิธีการต่างๆเช่น การจัดลำดับ การจัดหมวดหมู่
การคำนวณหาค่าใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้หรือให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลนั้นๆ
ได้ดีขึ้น
🌈 7. การลงความคิดเห็น
หมายถึงการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตุวัตถุหรือปรากฏการณ์ไปสัมพันธ์กับความรู้หรือประสบการณ์เดิมเพื่อลงข้อสรุปหรืออธิบายปรากฏการณ์หรือวัตถุนั้น
🌈 8. การพยากรณ์ เป็นการคาดคะเนสิ่งต่างๆ
วิธีการสอน
👉 การพยากรณ์จะต้องมีประสบการณ์โดยครูจะต้องสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็กครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้คาดคะเนโดยการตั้งคำถามคำถามที่พบบ่อยคือ “เด็กเด็กคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้านำสิ่งนี้ไปผสมกับสิ่งนั้น”
ตัวอย่างการจัดกิจกรรม
👉 การทำมะม่วงกวน เป็นการใช้ความร้อนมาทำปฏิกิริยากับมะม่วงให้มะม่วงสุกจะทำให้มองอยู่ได้นาน
👉 การทำกล้วยตาก เป็นการใช้ความร้อนมาทำปฏิกิริยากับกล้วยเพื่อช่วยดูดน้ำออกจากกล้วย
· 🍑 ทักษะขั้นสูงหรือทักษะขั้นผสม
5 ทักษะ 🍑
ได้แก่
🌈 1. การตั้งสมมุติฐาน เป็นการคิดหาคำตอบล่วงหน้าโดยมีกระบวนการ 5 ขั้น
🌈 1. การตั้งสมมุติฐาน เป็นการคิดหาคำตอบล่วงหน้าโดยมีกระบวนการ 5 ขั้น
👉 1.ตั้งประเด็นปัญหา
👉 2.ตั้งสมมุติฐานหรือสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นล่วงหน้า
👉 3.ทำการทดลอง
👉 4.รวบรวมข้อมูล
👉 5.นำเสนอและอภิปราย
🌈 2. การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
หมายถึง การกำหนดความหมายและขอบเขตของคำต่างๆ
นายสมมุติฐานที่ต้องการทดลองให้เข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตหรือวัดได้
🌈 3. การกำหนดและควบคุมตัวแปร
หมายถึง การบอกถึง ตัวแปรต้น ตัวแปรตามและ
ตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมุติฐาน
🌈 4. การทดลอง
หมายถึงกระบวนการปฏิบัติการณ์เพื่อหาคำตอบของสมมุติฐานที่ตั้งไว้หรือความสามารถในการดำเนินการตัวสมมุติฐานโดยการทดลอง
🌈 5. ทักษะการแปลความหมายข้อมูล
หมายถึงการตีความหมายหรือการบรรยายลักษณะเพื่อสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด
🍑 คำศัพท์ 🍑
1. Environment สิ่งแวดล้อม
2. Nature around ธรรมชาติรอบตัว
3. Facilitators ผู้อำนวยความสะดวก
4. Scientific skills ทักษะทางวิทยาศาตร์
5. Classification การจำแนกประเภท
6. Interpretation การสือความหมาย
7. Comment การลงความคิดเห็น
8. Predictions การพยากรณ์
9. Variable ตัวแปร
10. Hypothesis สมมติฐาน
🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺
🍑 ประเมิน 🍑
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์จะอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจไปพร้อมๆกัน เมื่อมีส่วนไหนที่ไม่เข้าใจ อาจารย์จะหาตัวอย่างเหตุการณ์ต่างๆมาเสริม แล้วจึงค่อยไปทีละเรื่อง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนดี และคอยช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์ แม้จะถูกบ้าง ผิดบ้างก็ตาม
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และจดตามที่อาจารย์สอน และพยายามหาคำตอบตามคำถามของอาจาร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น