🌼 สรุป ตัวอย่างการสอน 🌼
🌼 การสร้างวิศวกรน้อยที่เยอรมนี 🌼
ปัญหาของประเทศเยอรมันคือการขาดแคนวิศวะกรปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความสนใจในด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กในยุคปัจจุบัน
ซีเมนส์จึงได้ทำการปลูกฝังเด็กตั้งแต่เด็กเด็กจึงได้มีการคิดค้น
“กล่องแห่งการค้นพบ” ซึ่งบรรจุอุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์แบบง่ายไว้
เขาหวังว่าการสร้างความสนใจในเรื่องต่างๆเช่นน้ำสีเสียงไฟฟ้าและอากาศ
เด็กเด็กอาจจะเห็นว่าวิศวะกรเป็นอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจในอนาคต
แต่ก่อนที่จะให้ความรู้แก่เด็กจะต้องให้ความรู้แก่ครูก่อน
🌼 “ กล่องแห่งการค้นพบ ” 🌼
เรื่องแรก คือ ในกล่องแห่งการค้นพบคืออากาศทุกอย่างเกี่ยวกับอากาศและลม
เรื่องที่สอง คือ น้ำเรื่องที่โรงเรียนอนุบาลใช้ประโยชน์ในรูปแบบหลายรูปแบบ
เรื่องที่สาม คือ สีซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากการวาดรูประบายสีของเด็กๆ
เรื่องที่สี่ คือ เสียงมาจากดนตรี
เรื่องที่ห้า คือ เรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้า
🌼 วิธีการสอน 🌼
โดยการใช้กล่องต้องเริ่มจากการกำหนดกฎกติกาในการใช้และครูจะต้องคอยดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดในขณะใช้กล่องแห่งการค้นพบ
เด็กเด็กทุกคนจะมีความอยากรู้อยากเห็นการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการได้สัมผัสการได้ลงมือกระทำหรือที่เรียกว่าการเล่นฉะนั้นการจัดการเรียนการสอนจะต้องจัดอยู่ในรูปแบบของการเล่นหรือการที่เด็กได้ลงมือกระทำได้เห็นของจริงหรือที่เรียกว่าการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5
และการใช้คำถามก็สามารถกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี
🌼การสอนในหน่อยของอากาศ🌼
อาจการนำการทดลองแบบง่ายที่ไม่เป็นอันตรายต่อเด็กมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยดึงดูดความสนใจให้กับเด็กเด็กและทำให้เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือกระทำจริงได้เห็นของที่เป็นของจริงทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเกิดความเข้าใจได้มากกว่า
เช่น การใช้การทดลอง จากน้ำส้มสายชู ที่ทำปฏิกิริยากับผงฟู
🌼การสอนเรื่องน้ำ🌼
การเรียนรู้ของเหลวชนิดต่างๆ
โดยต้องเตรียมของเหลวชนิดที่ต่างกันใส่ไว้ในหลอดทดลองหรือหลอดแก้ว เพื่อที่จะทำการศึกษาคุณสมบัติของของเหลวแต่ละชนิด
วิธีการสอนเพื่อให้เด็กนำลวดหนีบกระดาษหยอดลงไปในหลอดทดลองหรือหลอดแก้วที่มีน้ำที่เตรียมไว้ให้ในแต่ละหลอดจากนั้นให้เด็กเด็กสังเกตว่าลวดหนีบกระดาษที่หยอดลงไปในหลอดทดลองนั้นมีปฏิกิริยาอย่างไรแล้วนำมาเปรียบเทียบกันว่าหลอดไหนจมเร็วที่สุดและเพราะอะไร
โดยให้เด็กได้ทำลองทำหลายๆครั้ง เด็กจะเกิดความสนุกมาก
เพราะเขาได้ลองทำและค้นพบด้วยตัวเอง
🌼การสอนเรื่องเสียง🌼
การใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่ายใกล้ตัวเช่นการใช้ไม้บรรทัด
ก็สามารถทำให้เกิดเสียงและจะเห็นได้ว่าในขณะที่เราดีดนั้นไม้บรรทัดจะสั่นก็เปรียบเหมือนคลื้นเสียงการเกิดเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนทำให้เด็กเห็นภาพไม่ชัด
นอกจากนี้เสียงของคนเราเวลาพูดคุยตะโกนหรือกระซิบนั้นมีความแตกต่างกันโดยให้เด็กเด็กได้ลองทำเสียงในลักษณะต่างๆดูเพื่อสังเกตถึงความแตกต่างขณะที่ทำเสียง
🌼คำสำคัญ🌼
วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม สื่อการสอน ของเล่นสำหรับปฐมวัย พัฒนาทักษะการประดิษฐ์ ทักษะการออกแบบ การต่อวงจรไฟฟ้า อนุบาล การแนะแนวอาชีพ เป้าหมายการศึกษา การศึกษาเพื่อสร้างอาชีพ เรียนรู้ผ่านการเล่น จิตวิทยา พัฒนาการเด็ก กระแสไฟฟ้า การผสมสี คลื่นเสียง
การออกแบบหลักสูตร พัฒนาแผนการสอน การศึกษาในเยอรมัน ความอยากรู้อยากเห็น
การสังเกต การตั้งคำถาม ทักษะการคิดวิเคราะห์ เรียนรู้ผ่านสัมผัสทั้งห้า
ปฏิกิริยาเคมี บทบาทครูอนุบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น