🎅 บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 🎅
🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄
🎅 ความรู้ที่ได้รับ 🎅
จากสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์ได้มอบหมายงหน้าที่ให้ไปทำสื่อกลุ่มและสื่อเดี่ยวกับเรื่องที่ตนเองได้รับมอบหมาย วันนี้อาจารย์ได้นัดส่งสื่อทั้งหมด โดยอาจารย์ให้นำเสนอสื่อกลุ่มก่อน
🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄
🎅 การนำเสนอสื่อกลุ่ม 🎅
🎇กลุ่มเครื่องกล " บ่อตกปลา "
🎇กลุ่มแสง " โรงละครหุ่นเงา "
🎇กลุ่มน้ำ " กังหันน้ำ "
🎇กลุ่มอากาศ " ปืนอัดอากาศ "
🎇กลุ่มหินดินทราย " เครื่องกรองน้ำ "
🎇กลุ่มเสียง " กีตาร์ "
🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄
🎅 การนำเสนอสื่อเดี่ยว 🎅
🎇กลุ่มเครื่องกล
✏
คาน อาศัยหลักการของโมเมนต์ นั่นคือ เมื่อมีวัตถุที่เป็นของแข็งและจุดหมุนอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งบนคาน การออกแรง ณ จุดที่ห่างจากจุดหมุน จะเป็นการเพิ่มปริมาณของโมเมนต์ โดยมีมุมระหว่างแรงกระทำกับระยะห่างจากจุดหมุนเป็นอีกปัจจัยด้วย นั่นคือ โมเมนต์จะมากที่สุดเมื่อแรงกระทำตั้งฉากกับระยะห่าง
✏ ขณะที่ม้วนหนังยางจะมีพลังงานสะสมอยู่ในหนังยาง เรียกว่า พลังงานศักย์ยืดหยุ่น (elastic potential energy) เมื่อทำการปล่อยสปริง จากพลังงานศักย์ยืดหยุ่นจะเปลี่ยนเป็น พลังจลน์ พลังงานจลน์ คือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
✏ ขณะที่ม้วนหนังยางจะมีพลังงานสะสมอยู่ในหนังยาง เรียกว่า พลังงานศักย์ยืดหยุ่น (elastic potential energy) เมื่อทำการปล่อยสปริง จากพลังงานศักย์ยืดหยุ่นจะเปลี่ยนเป็น พลังจลน์ พลังงานจลน์ คือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
✏ วัตถุต่างๆ จะมีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลกเสมอ บริเวณที่มีความลาดชันมากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และแรงดึงดูดที่มากระทำต่อมวลสารเหล่านั้นจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำเสมอ ความลาดชัน (Slope) ช่วยให้มีการเคลื่อนตัวได้มาก และขึ้นอยู่กับชนิดของมวลสารเหล่านั้นในการทรงตัวตามสภาพความลาดชัน
✏ การพับเครื่องบินไม่ว่าจะเทคนิคอะไร ตัววีเหมือนจรวด มีหัว มีปีกลู่ไปด้านหลังแล้วพุ่งไปด้านหน้า แรงที่กระทำจะเหมือนเดิม แต่แรงแหวกอากาศจะดีกว่า การที่เครื่องบินกระดาษร่อนอยู่ในอากาศได้ยาวนานนั้น ไม่ว่าจะพับรูปแบบไหนผู้ร่อนต้องสังเกตขณะร่อน ทฤษฎีหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ ทฤษฎีจุดศูนย์ถ่วงหรือจุดรวมน้ำหนัก
🎇กลุ่มแสง
✏ หลักการทำงานของ แผ่นซีดีหรรษา และ กล้องกลองแสง มีหลักการคล้ายกันคือ แสงในธรรมชาติของเรา คือเเสงสีขาว ภายในแสงสีขาว จะมีสีต่างๆซ่อนอยู่ 7 สี เมื่อมีแสงมากระทบทำให้เราเห็นสีต่างๆ และแสงสีขาวที่เราเห็นเมื่อเรานำกระดาษสีเหลืองมา มันจะดูดแสงสีเหลืองทำให้เรามองเห็นภาพต่างๆเป็นสีเหลือง
✏ กล้องรูเข็มมีหลักการง่ายๆ คือ ให้แสงที่ตกกระทบวัตถุและสะท้อนกลับมาเดินทางผ่านรูเล็กๆ แสงจะตกกระทบฉากและแสดงภาพของวัตถุหัวกลับกับวัตถุที่แสงตกกระทบ
- กล้องสลับราย
- กล้องละลานตา
✏ เมื่อนำกล้องส่องไปที่แหล่งกำเนิดแสง แสงจะผ่านวัตถุที่ใส่ไว้ และสะท้อนกระจกเงาด้านในกลับไปกลับมาหลายครั้ง เกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม โดยลวดลายจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เมื่อเขย่ากล้อง
🎇กลุ่มน้ำ
✏ การหมุนของน้ำและฟองอากาศเกิดจากการใช้แรงหมุนของข้อมือ แรงจากการหมุนข้อมือก่อให้เกิดแรงกระทำต่อน้ำในขวดทำให้เกิดการเคลื่อนที่ในแนววงกลมและและมีทิศเข้าสู่ศูนย์กลาง ความเร็วของการเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับจังหวะและแรงของการหมุนข้อมือ
✏ เมื่อบีบขวดทำให้ปริมาตรของขวดลดลง น้ำในขวดมีแรงดันมากขึ้น และดันน้ำเข้าไปในปลอกปากกา ทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นจึงจม เมื่อคลายมือออก ปริมาตรขวดจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แรงดันน้ำจะลดลง น้ำที่อยู่ในปลอกปากกา จะถูกอากาศภายในดันออก ทำให้ปลอกปากกาเบาจึงลอยขึ้น
✏ เมื่อสารต่างชนิดกันมารวมตัวกันมักจะทำปฎิกริยาที่ต่างกันคือจะแยกตัวกัน ซึ่งเมื่อโยกไปมา ทำให้เกิดเป็นคลื่นในทะเล และที่น้ำมันลอยขึ้นเหนือน้ำเนื่องจาก นำมันมีน้ำหนักน้อยกว่าน้ำ
✏ เมื่อเปิดฝาขวดน้ำ ทำให้น้ำไหล เนื่องจากเราเปิดฝาขวดน้ำทำให้อากาศเข้ามาทำให้เกิดแรงดันอากาศ ดันน้ำให้ไหลออกเมื่อมีทางออก เมื่อปิดฝาน้ำจะหยุดไหล เนื่องจากอากาศเข้ามาไม่ได้ ทำให้ไม่เกิดแรงดันอากาศ
🎇กลุ่มอากาศ
✏ โฮเวอร์คราฟยกตัวขึ้นเพราะอากาศจากลูกโป่ง แผ่ออกระหว่างผิวพื้นกับผิวใต้ฐานของโฮเวอร์คราฟ มีผลให้แรงเสียดทานระหว่าง ผิวสัมผัสของฐานโฮเวอร์คราฟกับพื้นลดลง แรงผลักในแนวนอนจึงดันให้โฮเวอร์คราฟ เคลื่อนที่ไปจนกว่าลูกโป่งจะแฟบ
✏ เป็นการทดสอบแรงดันอากาศ เมื่อดูดอากาศในแก้วอากาศในตัวแก้วจะลดลง ทำให้แรงดันอากาศจากข้างนอกที่มีมากกว่า มีแรงกระทำต่อถุง ทำให้ถุงยุบกลับเข้าไปในแก้ว ในขณะที่เราเป่า อากาศจากตัวเราก็เข้าไปในแก้วทำให้เพิ่มแรงดันภายในแก้ว ทำให้ถุงพลาสติกพองขึ้นมา
✏ หลักการทำงานสอดคล้องกับกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน “แรงปฏิกิริยา มีขนาดเท่ากับแรงกิริยา” นั้นคือแรงดันลมที่ออกจากลูกโป่งมีค่าเท่าใดก็จะมีแรงดันรถด้วยค่าเท่านั้น
✏ แรงดันอากาศ ขณะที่เราดูดหลอดที่ไม่มีลูกโป่งแล้ว ลูกโป่งอีกหลอดพองกลับพองขึ้นนั้น เป็นเพราะว่าอากาศภายในขวดมีปริมาตรลดลง อากาศภายนอกมีแรงดันมากกว่าจึงไหลเข้ามาแทนที่หลอดที่มีลูกโป่ง ทำให้ลูกโป่งพองขึ้น แต่ถ้าเป่าหลอดที่มีลูกโป่ง แล้วปิดหลอดที่ไม่มีลูกโป่งไว้ ลูกโป่งจะไม่พองก็เพราะว่าแรงดันอากาศภายในขวดมีมากทำให้เป่าได้ยากเมื่อเป่าแล้วแรงเป่าไม่พอที่จะทำให้อากาศออกไปได้ จึงทำให้ลูกโป่งไม่พองขึ้น
🎇กลุ่ม หิน ดิน ทราย
✏ วัตถุต่างๆ จะมีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลกเสมอ บริเวณที่มีความลาดชันมากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และแรงดึงดูดที่มากระทำต่อมวลสารเหล่านั้นจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำเสมอ ความลาดชัน (Slope) ช่วยให้มีการเคลื่อนตัวได้มาก และขึ้นอยู่กับชนิดของมวลสารเหล่านั้นในการทรงตัวตามสภาพความลาดชัน
✏ วัตถุต่างๆ จะมีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลกเสมอ บริเวณที่มีความลาดชันมากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และแรงดึงดูดที่มากระทำต่อมวลสารเหล่านั้นจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำเสมอ
✏ เสียง
เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน
ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง
🎇กลุ่มเสียง
✏ เมื่อเป่าลมลงไปทำให้ลมวิ่งไปกระทบกับลูกโป่งที่ขึงเอาไว้ ทำให้ลูกโป่งสั่นสะเทือน ลมที่เราเป่าไปจะเกิดวังวนของอากาศภายในขวด ทำให้มีการสั่นสะเทือน และเกิดเสียงก้องกังวาล
✏ เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง
🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄
🎅 STEM 🎅
คำว่า “ สะเต็ม ” หรือ “ STEM ” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่
วิทยาศาสตร์ (Science)
เทคโนโลยี (Technology)
วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)
คณิตศาสตร์ (Mathematics)
หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ 5 ประการ ได้แก่
(1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ
(2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ
(3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
(4) ท้าทายความคิดของนักเรียน
(5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา
จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน
🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄
🎅 คำศัพท์ 🎅
1. Science วิทยาศาสตร์
2. Technology เทคโนโลยี
3. Engineering วิศวกรรมศาสตร์
4. Mathematics คณิตศาสตร์
5. Slope ความลาดชัน
🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄
🎅 การประเมิน 🎅
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์นั่งชมการนำเสนอผลงาน โดยไม่ขัดขณะที่นักศึกษานำเสนอผลงาน เมื่อนักศึกษานำเสนอเสร็จ อาจารย์จึงให้คำเสนอแนะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ นำเสนอผลงานของตนเองอย่างตั้งใจ และนำเสนองานได้อย่างเข้าใจง่าย
ประเมินตนเอง : ตั้้งใจฟังเพื่อนนำเสนอผลงาน และตั้งใจฟังที่อาจารย์เสนอแนะ
🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄