วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วัน พุธ ที่ 20 พฤจิกายน พ.ศ. 2562

🎅 บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 🎅



🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄



          


🎅 ความรู้ที่ได้รับ 🎅

           จากสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์ได้มอบหมายงหน้าที่ให้ไปทำสื่อกลุ่มและสื่อเดี่ยวกับเรื่องที่ตนเองได้รับมอบหมาย  วันนี้อาจารย์ได้นัดส่งสื่อทั้งหมด โดยอาจารย์ให้นำเสนอสื่อกลุ่มก่อน



🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄


🎅 การนำเสนอสื่อกลุ่ม 🎅



🎇กลุ่มเครื่องกล " บ่อตกปลา "





🎇กลุ่มแสง " โรงละครหุ่นเงา "





🎇กลุ่มน้ำ " กังหันน้ำ "





🎇กลุ่มอากาศ  " ปืนอัดอากาศ "





🎇กลุ่มหินดินทราย " เครื่องกรองน้ำ "






🎇กลุ่มเสียง " กีตาร์ "







🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄


🎅 การนำเสนอสื่อเดี่ยว 🎅



🎇กลุ่มเครื่องกล



  • คานดีด                
 ✏   คาน อาศัยหลักการของโมเมนต์ นั่นคือ เมื่อมีวัตถุที่เป็นของแข็งและจุดหมุนอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งบนคาน การออกแรง ณ จุดที่ห่างจากจุดหมุน จะเป็นการเพิ่มปริมาณของโมเมนต์ โดยมีมุมระหว่างแรงกระทำกับระยะห่างจากจุดหมุนเป็นอีกปัจจัยด้วย นั่นคือ โมเมนต์จะมากที่สุดเมื่อแรงกระทำตั้งฉากกับระยะห่าง



  • รถไขลาน              
✏   ขณะที่ม้วนหนังยางจะมีพลังงานสะสมอยู่ในหนังยาง เรียกว่า พลังงานศักย์ยืดหยุ่น (elastic potential energy) เมื่อทำการปล่อยสปริง จากพลังงานศักย์ยืดหยุ่นจะเปลี่ยนเป็น พลังจลน์ พลังงานจลน์ คือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่



  • เรือใบพัด              
✏   ขณะที่ม้วนหนังยางจะมีพลังงานสะสมอยู่ในหนังยาง เรียกว่า พลังงานศักย์ยืดหยุ่น (elastic potential energy) เมื่อทำการปล่อยสปริง จากพลังงานศักย์ยืดหยุ่นจะเปลี่ยนเป็น พลังจลน์ พลังงานจลน์ คือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่



  • กลิ้งลูกแก้วลงรู     
✏   วัตถุต่างๆ จะมีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลกเสมอ บริเวณที่มีความลาดชันมากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และแรงดึงดูดที่มากระทำต่อมวลสารเหล่านั้นจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำเสมอ ความลาดชัน (Slope) ช่วยให้มีการเคลื่อนตัวได้มาก และขึ้นอยู่กับชนิดของมวลสารเหล่านั้นในการทรงตัวตามสภาพความลาดชัน



  • จรวจ                     
✏   การพับเครื่องบินไม่ว่าจะเทคนิคอะไร ตัววีเหมือนจรวด มีหัว มีปีกลู่ไปด้านหลังแล้วพุ่งไปด้านหน้า แรงที่กระทำจะเหมือนเดิม แต่แรงแหวกอากาศจะดีกว่า การที่เครื่องบินกระดาษร่อนอยู่ในอากาศได้ยาวนานนั้น ไม่ว่าจะพับรูปแบบไหนผู้ร่อนต้องสังเกตขณะร่อน ทฤษฎีหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ ทฤษฎีจุดศูนย์ถ่วงหรือจุดรวมน้ำหนัก




🎇กลุ่มแสง



  • แผ่นซีดีหรรษา        
  • กล้องกลองแสง       
✏  หลักการทำงานของ แผ่นซีดีหรรษา  และ กล้องกลองแสง  มีหลักการคล้ายกันคือ แสงในธรรมชาติของเรา คือเเสงสีขาว ภายในแสงสีขาว จะมีสีต่างๆซ่อนอยู่ 7 สี เมื่อมีแสงมากระทบทำให้เราเห็นสีต่างๆ และแสงสีขาวที่เราเห็นเมื่อเรานำกระดาษสีเหลืองมา มันจะดูดแสงสีเหลืองทำให้เรามองเห็นภาพต่างๆเป็นสีเหลือง



  • กล้องรูเข็ม            
✏   กล้องรูเข็มมีหลักการง่ายๆ คือ ให้แสงที่ตกกระทบวัตถุและสะท้อนกลับมาเดินทางผ่านรูเล็กๆ แสงจะตกกระทบฉากและแสดงภาพของวัตถุหัวกลับกับวัตถุที่แสงตกกระทบ



  • กล้องสลับราย         
  • กล้องละลานตา     
 ✏   เมื่อนำกล้องส่องไปที่แหล่งกำเนิดแสง แสงจะผ่านวัตถุที่ใส่ไว้ และสะท้อนกระจกเงาด้านในกลับไปกลับมาหลายครั้ง เกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม โดยลวดลายจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เมื่อเขย่ากล้อง




🎇กลุ่มน้ำ




  • ขวดน้ำทอนาโด   
✏  การหมุนของน้ำและฟองอากาศเกิดจากการใช้แรงหมุนของข้อมือ แรงจากการหมุนข้อมือก่อให้เกิดแรงกระทำต่อน้ำในขวดทำให้เกิดการเคลื่อนที่ในแนววงกลมและและมีทิศเข้าสู่ศูนย์กลาง ความเร็วของการเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับจังหวะและแรงของการหมุนข้อมือ



  • เรือดำน้ำ              
 ✏  เมื่อบีบขวดทำให้ปริมาตรของขวดลดลง น้ำในขวดมีแรงดันมากขึ้น และดันน้ำเข้าไปในปลอกปากกา ทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นจึงจม เมื่อคลายมือออก ปริมาตรขวดจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แรงดันน้ำจะลดลง น้ำที่อยู่ในปลอกปากกา จะถูกอากาศภายในดันออก ทำให้ปลอกปากกาเบาจึงลอยขึ้น



  • ทะเลในขวด          
✏   เมื่อสารต่างชนิดกันมารวมตัวกันมักจะทำปฎิกริยาที่ต่างกันคือจะแยกตัวกัน ซึ่งเมื่อโยกไปมา ทำให้เกิดเป็นคลื่นในทะเล และที่น้ำมันลอยขึ้นเหนือน้ำเนื่องจาก นำมันมีน้ำหนักน้อยกว่าน้ำ



  • ตู้กดน้ำจำลอง       
✏  เมื่อเปิดฝาขวดน้ำ ทำให้น้ำไหล เนื่องจากเราเปิดฝาขวดน้ำทำให้อากาศเข้ามาทำให้เกิดแรงดันอากาศ ดันน้ำให้ไหลออกเมื่อมีทางออก เมื่อปิดฝาน้ำจะหยุดไหล เนื่องจากอากาศเข้ามาไม่ได้ ทำให้ไม่เกิดแรงดันอากาศ





🎇กลุ่มอากาศ




  • โฮเวอร์คราฟ ลูกโป่ง      
✏  โฮเวอร์คราฟยกตัวขึ้นเพราะอากาศจากลูกโป่ง แผ่ออกระหว่างผิวพื้นกับผิวใต้ฐานของโฮเวอร์คราฟ มีผลให้แรงเสียดทานระหว่าง ผิวสัมผัสของฐานโฮเวอร์คราฟกับพื้นลดลง แรงผลักในแนวนอนจึงดันให้โฮเวอร์คราฟ เคลื่อนที่ไปจนกว่าลูกโป่งจะแฟบ



  • ตุ๊กตาลมคืนชีพ            
✏   เป็นการทดสอบแรงดันอากาศ เมื่อดูดอากาศในแก้วอากาศในตัวแก้วจะลดลง ทำให้แรงดันอากาศจากข้างนอกที่มีมากกว่า มีแรงกระทำต่อถุง ทำให้ถุงยุบกลับเข้าไปในแก้ว ในขณะที่เราเป่า อากาศจากตัวเราก็เข้าไปในแก้วทำให้เพิ่มแรงดันภายในแก้ว ทำให้ถุงพลาสติกพองขึ้นมา



  • รถพลังลม                    
✏   หลักการทำงานสอดคล้องกับกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน “แรงปฏิกิริยา มีขนาดเท่ากับแรงกิริยา”  นั้นคือแรงดันลมที่ออกจากลูกโป่งมีค่าเท่าใดก็จะมีแรงดันรถด้วยค่าเท่านั้น




  • เครื่องดูดจอมกวน        
✏   แรงดันอากาศ ขณะที่เราดูดหลอดที่ไม่มีลูกโป่งแล้ว ลูกโป่งอีกหลอดพองกลับพองขึ้นนั้น เป็นเพราะว่าอากาศภายในขวดมีปริมาตรลดลง อากาศภายนอกมีแรงดันมากกว่าจึงไหลเข้ามาแทนที่หลอดที่มีลูกโป่ง ทำให้ลูกโป่งพองขึ้น แต่ถ้าเป่าหลอดที่มีลูกโป่ง แล้วปิดหลอดที่ไม่มีลูกโป่งไว้ ลูกโป่งจะไม่พองก็เพราะว่าแรงดันอากาศภายในขวดมีมากทำให้เป่าได้ยากเมื่อเป่าแล้วแรงเป่าไม่พอที่จะทำให้อากาศออกไปได้ จึงทำให้ลูกโป่งไม่พองขึ้น




🎇กลุ่ม หิน ดิน ทราย 



  • ถาดหลุมหิน                         
✏   วัตถุต่างๆ จะมีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลกเสมอ บริเวณที่มีความลาดชันมากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และแรงดึงดูดที่มากระทำต่อมวลสารเหล่านั้นจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำเสมอ ความลาดชัน (Slope) ช่วยให้มีการเคลื่อนตัวได้มาก และขึ้นอยู่กับชนิดของมวลสารเหล่านั้นในการทรงตัวตามสภาพความลาดชัน



  • นาฬิกาทราย                        
✏    วัตถุต่างๆ จะมีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลกเสมอ บริเวณที่มีความลาดชันมากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และแรงดึงดูดที่มากระทำต่อมวลสารเหล่านั้นจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำเสมอ



  • เครื่องเขย่าจากหิน               
  • เครื่องเคาะจังหวะจากทราย  
✏ เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง





🎇กลุ่มเสียง




  • แตรช้าง      
 ✏   เมื่อเป่าลมลงไปทำให้ลมวิ่งไปกระทบกับลูกโป่งที่ขึงเอาไว้ ทำให้ลูกโป่งสั่นสะเทือน ลมที่เราเป่าไปจะเกิดวังวนของอากาศภายในขวด ทำให้มีการสั่นสะเทือน และเกิดเสียงก้องกังวาล



  • ผลไม้หลากเสียง     
  • เครื่องเคาะจังหวะ     
  • เครื่องดนตรี              
 ✏  เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง




🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄



🎅 STEM 🎅


          คำว่า “ สะเต็ม ” หรือ “ STEM ” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ 


วิทยาศาสตร์ (Science) 

เทคโนโลยี (Technology)  

วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)

คณิตศาสตร์ (Mathematics)  


          หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน 


การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ  5  ประการ ได้แก่ 

(1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ 

(2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ  

(3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21  

(4) ท้าทายความคิดของนักเรียน  

(5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา  



          จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน




🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄



🎅 คำศัพท์ 🎅



1. Science              วิทยาศาสตร์
2. Technology        เทคโนโลยี 
3. Engineering        วิศวกรรมศาสตร์
4. Mathematics       คณิตศาสตร์
5. Slope                   ความลาดชัน





🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄



🎅 การประเมิน 🎅 


ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์นั่งชมการนำเสนอผลงาน โดยไม่ขัดขณะที่นักศึกษานำเสนอผลงาน เมื่อนักศึกษานำเสนอเสร็จ อาจารย์จึงให้คำเสนอแนะ

ประเมินเพื่อน :   เพื่อนๆ นำเสนอผลงานของตนเองอย่างตั้งใจ และนำเสนองานได้อย่างเข้าใจง่าย 

ประเมินตนเอง :  ตั้้งใจฟังเพื่อนนำเสนอผลงาน และตั้งใจฟังที่อาจารย์เสนอแนะ 




🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄🎄


























วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

🔮 บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 🔮


🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭



🔮 กิจกรรม 🔮

          วันนี้อาจารย์ให้ไปทำกิจกรรมร่วมกับเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซอยเสือใหญ่ โดยเป็นการไปจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กๆ เนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วกลุ่มของเราเป็นกลุ่มสนับสนุน อาทิตย์นี้กลุ่มของพวกเราได้เป็นกลุ่มที่จัดการทดลอง และเพื่อนที่จัดการทดลองในอาทิตย์ที่แล้วก็สลับหน้าที่กันมาเป็นกลุ่มสนับสนุนในสัปดาห์นี้ 
          
          กลุ่มของดิฉันมีกิจกรรมการทดลองที่มีชื่อว่า ลูกข่างหลากสี โดยกลุ่มของดิฉันจะเป็นการทดลองที่เป็นการประดิษฐ์ของเล่น ปัญหาที่เราพบคือ เนื่องจากอาทิตย์ที่แล้ว เด็กมีจำนวนน้อยกว่าอาทิตย์นี้ ทำให้จำนวนอุปกรณ์ที่เราเตรียมมาไม่พอกับจำนวนเด็กๆ  เราจึงแก้ปัญหา ด้วยการให้เด็กจับคู่กัน และทำของเล่นร่วมกัน ส่วนลูกข่างที่ทำขึ้นมาก็เป็นของเล่นของศูนย์ เพื่อที่เด็กๆจะได้เล่นกันทุกคน 
          


🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭


🔮 บรรยากาศภายในกิจกรรม 🔮













🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭



🔮 การประเมิน 🔮


ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์จะคอยดูๆการทำงานของพวกเรา เมื่อมีข้อผิดพลาด อารจาร์จะคอยช่วยเหลือ และแก้สถานะการณ์ให้

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆบางคน แสดงออกถึงความเป็นผู้นำ และผู้ตาม บางคนใงห้ความร่วมมือเต็มที่ แต่บางคนยังดูไม่เต็มที่กับการทำกิจกรรม 

ประเมินตนเอง : มีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเยอะ เนื่องจากเราไม่ค่อยได้ลงสถานที่จริงมากพอทำให้มีประสบการณ์น้อย 



🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭🍭







วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

💡 บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 💡




💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐


💡กิจกรรม💡


          วันนี้อาจารย์ให้ไปทำกิจกรรมร่วมกับเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซอยเสือใหญ่ โดยเป็นการไปจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กๆ เนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วได้มีการจับฉลากว่ากลุ่มไหนจะเป็นกลุ่มที่จัดกิจกรรมและ กลุ่มไหนจะเป็นกลุ่มสนับสนุน ซึ่งในสัปดาห์นี้กลุ่มของดิฉันได้รับหน้าที่เป็นกลุ่มสนุบสนุม จะมีหน้าที่เป็นคนคอยให้การสนับสนุนการทำกิจกรรมของเพื่อนๆ มีหน้าที่แบ่งกลุ่มเด็กๆ และ ดูแลเด็กๆในขณะที่เด็กๆทำกิจกรรม 



💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐



💡 บรรยากาศในการทำกิจกรรม 💡










💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐



💡 การประเมิน 💡


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เปิดโอกาสให้ทำกิจกกรรมร่วมกับเด็กอย่างเต็มที่กและจะคอยแทรกวิธีการอยู่ร่วมกับเด็กอย่างเหมาะสม 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ตั้งใจปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ มีบ้างที่หลุดคำพูดที่ไม่เหมาะสม แต่กฌจะมีเพื่อนๆคอยพูดเตือนตลอด

ประเมินตนเอง : เนื่องจากเด็กที่มีจำนวนเยอะ แลเราไม่ค่อยได้ลงสถานที่จริง ทำให้การทำงานในช่วงแรกๆ ดูเป็นการทำงานที่ยาก เนื่องจากเราไม่ค่อยมีลูกเล่นที่จะเล่นกับเด็ก และทำใงห้เด็กสนใจ



💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐







วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562

🌼  บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 🌼


🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻




🌼 ความรู้ที่ได้รับ 🌼

วันนี้อาจารย์ให้ออกมาทำการทดลองอีกครั้งก่อนที่จะออกไปทำการทดลองกับเด็กๆ ในนสถานที่จริง เพื่อดูความพร้อมและหาข้อที่ต้องปรับปรุงของแต่ละกลุ่มอีกครั้ง 

" การทดลองวิทยาศาสตร์จะมีสาระทางวิทยาศาสตร์เป็นหัวใจหลัก 
และมีสาระทาง คณิตศาสตร์ + ภาษา เป็นเครื่องมือ "


🌸 กลุ่มที่ 1 : การแยกเกลือ พริกไทย 🌸 




🌸 กลุ่มที่ 2 : ลูกโปร่งพองโต 🌸




🌸 กลุ่มที่ 3 : การลอยจมของน้ำมัน 🌸




🌸 กลุ่มที่ 4 : ภูเขาไฟลาวา 🌸





🌸 กลุ่มที่ 5 : โลกของแสงสีและรวดลายพิศวง 🌸





🌸 กลุ่มที่ 6 : ลูกข่างหลากสี 🌸





🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻



🌼 กิจกรรมที่ 1 ภาพเคลื่อนไหว 🌼




อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น จากนั้นตัดครึ่งตามแนวยาว 



จากนั้้นนำกระดาษที่ตัดครึ่งมาพับตามแนวนอนโดนให้กระดาษด้านบนเกินด้านล่าง 1 นิ้ว



จากนั้นให้วาดรูปลงบนกระดาษโดยให้เป็นภาพที่มีเนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน 


เมื่อเราเปิด ปิด กระดาษไปมาสลับการเร็วๆ จะทำให้เราเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว เนื่องจากตาเรามองสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ทัน และส่งการรับรู้ไปที่สมอง ทำให้สมองของเราตีความไม่ทัน และทำให้สมองของเราตีความผิดเพี้ยนไปจึงทำให้เราเห็นภาพที่เหมือนจริง หรือที่เรียกว่า ภาพลวงตา 




🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻


🌼 กิจกรรมที่ 2 ภาพหมุน 🌼




นำกระดาษที่เหลือจากการทำกิจกรรมที่ 1 มาตัดครึ่ง และตัดครึ่งอีกหนึ่งครั้ง


จากนั้นให้วาดรูปสิ่งที่สัมพันธ์กัน ลงในกระดาษทั้ง 2 แผ่น โดยแต่ละแผ่นต้องอยู่ในตำแหน่งที่สอดสัมพันธ์กัน 



จากนั้นใช้เศษกระดาษมันม้วนให้แข็งๆเพื่อใช้เป็นก้านเพื่อใช้จับในการหมุน และติดกระดาษทั้ง 2 แผ่นเข้าด้วยกัน โดยสอดก้านไว้ตรงกลาง 


เมื่อหมุนก้านเร็วๆ จะเห็นเหมือนภาพทั้ง 2 ภาพนี้เป็นภาพเดียวกัน โดยใช้ทฤษฎีภาพติดตา หมายถึง ความรู้สึกในการเห็นภาพครั้งนึงอยู่ในสมองชั่วขณะทั้งๆ ที่ไม่มีภาพของวัตถุนั้นอยู่บนจอภาพนั้นอยู่แล้ว คนปกติจะมีระยะเวลาการเห็นภาพติดตาประมาณ 10-15 ภาพต่อวินาทและหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้




🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻



🌼 กิจกรรมที่ 3 ประดิษฐ์ของเล่นจากกระดาษ 🌼



          
          อาจารย์ให้ประดิษฐ์ของเล่นจากกระดาษที่เหลือจากการทำกิจกรรม โดยให้ประดิษฐ์ของเล่น ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาตร์แล้วให้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ดิฉัน เลือกทำ กบ 

กบ กับ วิทยาศาสตร์

          การดึงสปริงให้ยืดออกจะมีการทำงาน เพราะมีแรงกระทำต่อสปริง ทำให้สปริงยืดตามแนวแรงถ้าสปริงยืดมากงานที่ทำก็จะมีค่ามาก ขณะที่ดึงสปริงให้ยืดออกหรือกดให้หดสั้นจะมีพลังงานสะสมอยู่ในสปริง เรียกว่า พลังงานศักย์ยืดหยุ่น (elastic potential energy) เมื่อทำการปล่อยสปริง จากพลังงานศักย์ยืดหยุ่นจะเปลี่ยนเป็น พลังจลน์ พลังงานจลน์ คือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
   



🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻
  


🌼 คำศัพท์ 🌼

1. Elastic potential energy    พลังงานศักย์ยืดหยุ่น
2. Mechanical energy        พลังงานกล
3. Kinetic energy               พลังงานจลน์
4. Mirage                           ภาพลวงตา 
5. Image retention             การคงอยู่ของภาพ 


🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻



🌼 การประเมิน 🌼

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการพูดคุยกับเด็ก และการเก็บเด็ก รวมทั้งการตั้งคำถาม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมีความตั้งใจ และคอยจดข้อเสนอแนะของอาจารย์ และคอยให้ข้อเสนอแนะแก่เพื่อน

ประเมินตนเอง : รับข้อเสนอแนะของอาจารย์และเพื่อน และคอยให้ข้อเสนอแก่เพื่อน 



🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻






















วันพุธ ที่ 27 พฤศจิกายน 2562

❄️ บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 ❄️ 💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜💜 ❄️ ความรู้ที่ได้รับ ❄️ วันนี้อาจารย์ให้มารับ...