First Page

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562

🌼  บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 🌼


🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻




🌼 ความรู้ที่ได้รับ 🌼

วันนี้อาจารย์ให้ออกมาทำการทดลองอีกครั้งก่อนที่จะออกไปทำการทดลองกับเด็กๆ ในนสถานที่จริง เพื่อดูความพร้อมและหาข้อที่ต้องปรับปรุงของแต่ละกลุ่มอีกครั้ง 

" การทดลองวิทยาศาสตร์จะมีสาระทางวิทยาศาสตร์เป็นหัวใจหลัก 
และมีสาระทาง คณิตศาสตร์ + ภาษา เป็นเครื่องมือ "


🌸 กลุ่มที่ 1 : การแยกเกลือ พริกไทย 🌸 




🌸 กลุ่มที่ 2 : ลูกโปร่งพองโต 🌸




🌸 กลุ่มที่ 3 : การลอยจมของน้ำมัน 🌸




🌸 กลุ่มที่ 4 : ภูเขาไฟลาวา 🌸





🌸 กลุ่มที่ 5 : โลกของแสงสีและรวดลายพิศวง 🌸





🌸 กลุ่มที่ 6 : ลูกข่างหลากสี 🌸





🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻



🌼 กิจกรรมที่ 1 ภาพเคลื่อนไหว 🌼




อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น จากนั้นตัดครึ่งตามแนวยาว 



จากนั้้นนำกระดาษที่ตัดครึ่งมาพับตามแนวนอนโดนให้กระดาษด้านบนเกินด้านล่าง 1 นิ้ว



จากนั้นให้วาดรูปลงบนกระดาษโดยให้เป็นภาพที่มีเนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน 


เมื่อเราเปิด ปิด กระดาษไปมาสลับการเร็วๆ จะทำให้เราเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว เนื่องจากตาเรามองสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ทัน และส่งการรับรู้ไปที่สมอง ทำให้สมองของเราตีความไม่ทัน และทำให้สมองของเราตีความผิดเพี้ยนไปจึงทำให้เราเห็นภาพที่เหมือนจริง หรือที่เรียกว่า ภาพลวงตา 




🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻


🌼 กิจกรรมที่ 2 ภาพหมุน 🌼




นำกระดาษที่เหลือจากการทำกิจกรรมที่ 1 มาตัดครึ่ง และตัดครึ่งอีกหนึ่งครั้ง


จากนั้นให้วาดรูปสิ่งที่สัมพันธ์กัน ลงในกระดาษทั้ง 2 แผ่น โดยแต่ละแผ่นต้องอยู่ในตำแหน่งที่สอดสัมพันธ์กัน 



จากนั้นใช้เศษกระดาษมันม้วนให้แข็งๆเพื่อใช้เป็นก้านเพื่อใช้จับในการหมุน และติดกระดาษทั้ง 2 แผ่นเข้าด้วยกัน โดยสอดก้านไว้ตรงกลาง 


เมื่อหมุนก้านเร็วๆ จะเห็นเหมือนภาพทั้ง 2 ภาพนี้เป็นภาพเดียวกัน โดยใช้ทฤษฎีภาพติดตา หมายถึง ความรู้สึกในการเห็นภาพครั้งนึงอยู่ในสมองชั่วขณะทั้งๆ ที่ไม่มีภาพของวัตถุนั้นอยู่บนจอภาพนั้นอยู่แล้ว คนปกติจะมีระยะเวลาการเห็นภาพติดตาประมาณ 10-15 ภาพต่อวินาทและหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้




🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻



🌼 กิจกรรมที่ 3 ประดิษฐ์ของเล่นจากกระดาษ 🌼



          
          อาจารย์ให้ประดิษฐ์ของเล่นจากกระดาษที่เหลือจากการทำกิจกรรม โดยให้ประดิษฐ์ของเล่น ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาตร์แล้วให้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ดิฉัน เลือกทำ กบ 

กบ กับ วิทยาศาสตร์

          การดึงสปริงให้ยืดออกจะมีการทำงาน เพราะมีแรงกระทำต่อสปริง ทำให้สปริงยืดตามแนวแรงถ้าสปริงยืดมากงานที่ทำก็จะมีค่ามาก ขณะที่ดึงสปริงให้ยืดออกหรือกดให้หดสั้นจะมีพลังงานสะสมอยู่ในสปริง เรียกว่า พลังงานศักย์ยืดหยุ่น (elastic potential energy) เมื่อทำการปล่อยสปริง จากพลังงานศักย์ยืดหยุ่นจะเปลี่ยนเป็น พลังจลน์ พลังงานจลน์ คือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
   



🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻
  


🌼 คำศัพท์ 🌼

1. Elastic potential energy    พลังงานศักย์ยืดหยุ่น
2. Mechanical energy        พลังงานกล
3. Kinetic energy               พลังงานจลน์
4. Mirage                           ภาพลวงตา 
5. Image retention             การคงอยู่ของภาพ 


🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻



🌼 การประเมิน 🌼

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยให้คำปรึกษา เกี่ยวกับการพูดคุยกับเด็ก และการเก็บเด็ก รวมทั้งการตั้งคำถาม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมีความตั้งใจ และคอยจดข้อเสนอแนะของอาจารย์ และคอยให้ข้อเสนอแนะแก่เพื่อน

ประเมินตนเอง : รับข้อเสนอแนะของอาจารย์และเพื่อน และคอยให้ข้อเสนอแก่เพื่อน 



🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻






















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น