First Page

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

🍉 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 🍉



🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾





🍉 ความรู้ที่ได้รับ 🍉

          วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมในสัปดาห์ที่แล้วว่าทักษะทางวิทยาศาสตร์มีทั้งหมด 13 ทักษะ
โดยแยกได้เป็น 2 กลุ่มคือ


🍓 ทักษะพื้นฐานมีทั้งหมด 8 ทักษะ

          1. ทักษะการสังเกตุ
          2. ทักษะการวัด
          3. ทักษะการใช้ตัวเลข
          4. ทักษะการจำแนกประเภท
          5. ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปคกับสเปค และ สเปคกับเวลา
          6. ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
          7. ทักษะการลงความคิดเห็น
          8. ทักษะการพยากรณ์



🍓 ทักษะขั้นสูง 5 ทักษะ

          1. ทักษะการตั้งสมมติฐาน
          2. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
          3. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
          4. ทักษะการทดลอง
          5. ทักษะการแปลความหมายข้อมูล




🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾



🍉 กิจกรรมที่1 วาดรูปแหล่งน้ำที่รู้จัก 🍉



                         

                         


          อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มตามที่ได้เคยแบ่งไว้ จากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษบรู๊ฟกลุ่มละหนึ่งแผ่นและให้ช่วยกันวาดรูปแหล่งน้ำที่ตนเองรู้จักมาหนึ่งที่โดยไม่ให้เขียนว่าที่ที่เราวาดคือที่ใด เมื่อวาดเสร็จก็ให้นำมาให้เพื่อนๆทาย


          🍓 กลุ่มที่ 1 วาดเขื่อนเชี่ยวหลาน




          🍓 กลุ่มที่ 2 วาดทะเลแหวกที่กระบี่




          🍓 กลุ่มที่ 3 วาดน้ำตกเจ็ดสาวน้อย




          🍓 กลุ่มที่ 4 วาดเขื่อนลำตะคอง




          🍓 กลุ่มที่ 5 วาดแม่น้ำโขงจังหวัดนครพนม




          🍓 กลุ่มที่ 6 วาดแม่น้ำเจ้าพระยา




          การที่เพื่อนๆ ตอบได้ว่าสถานที่ที่เราวาดนั้นเป็นสถานที่ใดเนื่องจากว่าเพื่อนๆ มีประสบการณ์เดิมจากการดูรูปหรือการที่เคยไปสถานที่จริงและในการวาดรูปที่จะสื่อถึงสถานที่ต่างๆนั้นเราต้องดึงสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์หรือลักษณะเด่นของสถานที่นั้นๆออกมาใช้ในการสื่อความหมาย

          กิจกรรมนี้สามารถประยุกต์ใช้กับเด็กได้ซึ่งกิจกรรมนี้ทำให้เด็กได้ทักษะของการสังเกตุรายละเอียด การเชื่อมโยงความรู้เก่าและความรู้ใหม่เข้าด้วยกันรวมทั้งการตีความหมาย

          ในกิจกรรมนี้บอกถึงความหมายของแหล่งน้ำว่าแหล่งน้ำคือที่ที่มีน้ำอยู่จำนวนมากแหล่งน้ำมีทั้งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนกักเก็บน้ำเช่นเขื่อน


🍓สาระที่ได้

          🍒 วิทยาศาสตร์คือการที่เด็กได้สังเกตสิ่งรอบรอบตัว

          🍒 ภาษาการใช้ภาษาในการพูดอธิบายการใช้คำศัพท์ในการแผนภาพการฟังเพื่อนอธิบายการอ่านการอ่านภาพและดูตัวอย่างการเขียนการเขียนการเขียนภาพและการเขียนชื่อภาพ

          🍒 ศิลปะในเรื่องของการคิดจินตนาการถ่ายทอดการคิดผ่านงานศิลปะ

          🍒 คณิตศาสตร์เรื่องของเวลาและรูปเรขาคณิต

          🍒 ด้านภูมิศาสตร์

          🍒 การทำงานร่วมกันเป็นทีมการพูดคุยการ





🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾


🍉 กิจกรรมที่ 2 สร้างแท๊งค์น้ำจากหนังสือพิมพ์ 🍉







          อาจารย์ได้ให้การอ่านหนังสือพิมพ์แผ่นเล็ก 1 ฉบับและแผ่นใหญ่จำนวน 20 แผ่นคู่
โดยอาจารย์ได้กำหนดให้สร้างแท๊งค์น้ำที่มีความสูง 24 นิ้วเมื่อสร้างเสร็จแล้วให้นำพานไปวางไว้ข้างบนและนับ 1 ถึง 10 โดยห้ามให้แท๊งค์น้ำนั้นล้มลงมา





🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾


🍉 คำศัพท์ 🍉

1. Geography ภูมิศาสตร์
2. Art ศิลปะ
3. Math คณิตศาสตร์
4. Water source แหล่งน้ำ
5. Dam เขื่อน



🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾


🍉 การประเมิน 🍉

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์จะคอยทบทวนความรู้เดิมที่เคยเรียนกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จะคอยหากิจกรรมมาให้เราได้ลงมือทำกัน 

ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆ ทุกคนมีความตั้้งใจเรียนดี ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมาย และช่วยกันตอบคำถามอาจารย์

ประเมินตนเอง :  ตั้งใจเรียน คอยช่วยเพื่อนตอบคำถาม 




🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾🌾













วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2562

ตัวอย่างการทดลองวิทยาศาสตร์

💧 ตัวอย่างการทดลองวิทยาศาสตร์ 💧



🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈


💦 walking water 💦

💧 น้ำเดินได้ วิทยาศาสตร์น่ารู้ 💧






💦 อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม 💦


          💧 1. สีผสมอาหาร สีเเดง สีเหลือง สีน้ำเงิน (แม่สี)

          💧 2. กระดาษทิชชู่

          💧 3. เเก้วน้ำ(เเบบใส)

          💧 4. น้ำ



💦วิธีการทดลอง💦

          💧 1. นำเเก้วน้ำติกที่เตรียมไว้ทั้งหมดมาเรียงแถวต่อกัน หรือ จะทำเป็นวงกลมก็ได้นะคะ

          💧 2. เทน้ำลงไปในเเก้ว เทแก้วเว้นแก้ว

          💧 3. นำสีผสมอาหารมาใส่ลงในเเก้วที่ใส่น้ำไว้

          💧 4. นำกระดาษทิชชู่มาม้วนทำเป็นสะพานเชื่อมระหว่างแก้วที่ติดกัน




💦 สรุปการทดลอง 💦

          กระดาษทิชชูมีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ดี เนื่องจากว่ากระดาษทิชชูมีช่องว่างของเส้นใยที่ทำให้น้ำสามารถไหลผ่านได้อย่างรวดเร็ว การที่น้ำสามารถเคลื่อนขึ้นข้างบนต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลกได้เพราะเกิดแรงดึงดูดขึ้นระหว่างน้ำกลับเส้นใหญ่ที่อยู่ในกระดาษทิชชู



💦 ประโยชน์ในการเล่น walking water 💦

          💧ช่วยเสริมทักษะการคิด วิเคราะ จินตนาการ

          💧ช่วยให้สนุกกับการทดลอง ตั้งคำถาม และ หาคำตอบ

          💧ช่วยฝึกฝนทักษะในด้านการสังเกต การจำเเนก ผสมสีเเละประเภทสี

          💧ช่วยฝึกการควบคุมสมาธิ เเละรู้จักการแก้ปัญญา เกิดความคิดใหม่ๆ




🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈🌈













วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562

🍑 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 🍑



🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺


🍑 ความรู้ที่ได้รับ 🍑

วิทยาศาสตร์คือสิ่งต่างๆรอบตัวเราทั้งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
เนื้อหาสาระสำคัญแบ่งเป็น 4 กลุ่ม

     🌈 1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก     
      
           เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อและเพศของตนเองการเรียกชื่อส่วนต่างๆของใบหน้าและร่างกายการดูแลตนเองเบื้องต้นโดยมีผู้ใหญ่ให้การช่วยเหลือ

      🌈 2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อม

          เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลภายในครอบครัวและบุคคลภายนอกครอบครัวการรู้จักชื่อเรียกหรือสรรพนามแทนตัวของญาติหรือผู้เลี้ยงดูวิธีการปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม

      🌈 3. ธรรมชาติรอบตัว

              เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการสำรวจสิ่งต่างๆในธรรมชาติรอบตัวเช่น สัตว์ พืช ดอกไม้ ใบไม้ ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

     🌈 4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

          เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อของเล่นของใช้ที่อยู่รอบตัวการเชื่อมโยงลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างง่ายของสิ่งต่างๆที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเช่น สี รูปร่าง รูปทรง ขนาด ผิวสัมผัส



🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺



          วิทยาศาสตร์มีความสำคัญกับการดำรงชีวิต เพราะในชีวิตประจำวันของเราได้นำวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างมากมายเช่นการประดิษฐ์สิ่งของต่างๆซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น
🌈 พื้นที่ใดที่วิทยาศาสตร์เข้าไม่ถึงพื้นที่นั้นจะคงไว้ซึ่งธรรมชาติ 🌈



🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺


ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้


🍑 ทักษะขั้นมูลฐาน 8 ทักษะ 🍑

ได้แก่ 

     🌈 1. ช่างสังเกต     เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า

วิธีการสอน 


    👉   
การตั้งคำถามเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กมีความสนใจ
          👉    การให้เด็กได้เจอของจริงโดยครูเป็นผู้เตรียมการค่อยเตรียมสื่อเตรียมวัสดุซึ่งเรียกว่าครูคือผู้อำนวยความสะดวก (facilitators)

ตัวอย่างกิจกรรม

👉   การเป่าสี เป็นการผสมสี สีตามธรรมชาติ
👉   การประดิษฐ์นาฬิกาทราย เป็นการสังเกตการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีขนาดเล็ก
👉   การพิมพ์ภาพ
-  การพิมพ์ลายนิ้วมือเด็กได้สังเกตเกี่ยวกับส่วนต่างๆของร่างกายโดยแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
-  การพิมพ์ใบไม้ใบไม้แต่ละใบมีลายที่แตกต่างกัน

👉   การปั้น เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวัสดุที่นำมาปั้นว่ามีลักษณะอย่างไรเวลาที่ให้เด็กปั้นอะไรในเดือนอาการเด็กจะตั้งจากสิ่งที่เคยพบเห็นเช่นเครื่องบินบ้านซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากวิทยาศาสตร์เพราะวิทยาศาสตร์คือสิ่งต่างๆรอบตัวของมนุษย์
          🌈 2. การวัด คือการหาค่าและปริมาณ

วิธีการสอน 

    👉   ครูจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการวัดชั่งตวงให้แก่เด็กครูต้องศึกษาข้อมูลว่าต้องทำอย่างไรหรือควรไปจัดการเรียนรู้ที่ใดหรือควรจัดสถานการณ์อย่างไร

ตัวอย่างการจัดกิจกรรม

     👉   ผลไม้
-  การชั่งน้ำหนัก การนับจำนวน การเปรียบเทียบ
-  สีของผลไม้ที่สัมพันธ์กับอายุเช่นผลไม้ที่ยังไม่สุกจะมีสีเขียวพอเริ่มแก่จะมีสีเหลืองแกไปจะเป็นสีน้ำตาลหรือดำ
-  รสชาติของผลไม้ชนิดต่างๆ
-  การสำรวจจำนวนว่าเด็กชอบผลไม้ชนิดใดบ้าง


    🌈 3. การใช้ตัวเลขหรือการคำนวณ กล่าวคือ คณิตศาสเป็นเครื่องมือหนึ่งทางวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างการจัดกิจกรรม

     👉   ผลไม้
-  สีของผลไม้ตามอายุ เป็นการนับว่าผลเม้จากดิบไปสุกต้องใช้เวลากี่วันกว่าสุกไปเน่าใช้เวลากี่วัน
-  การตรวจสอบจำนวนว่าเด็กชอบผลไม้ชนิดนี้กี่คนชอบอีกชนิดกี่คนชอบชนิดไหนมากกว่ากันและชอบมากกว่าที่คนชอบน้อยกว่ากี่คน


      🌈 4. การจำแนกประเภท 

                  ต้องใช้การตั้งเกณฑ์ขึ้นมาเป็นตัวกำหนดหมวดหมู่ในการจัดหมวดหมู่เช่นการใช้สีเป็นเกณฑ์การใช้รูปร่างเป็นเกณฑ์การใช้รูปทรงเป็นเกณฑ์


       🌈 5. การใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปคกับสเปคและสเปคกับเวลา 
   (สเปค = พื้นที่)

     👉   สเปคกับสเปค เช่น   การสังเกตแอปเปิ้ลถ้าดูจากภายนอกจะเห็นว่าเป็นทรงกลมเพราะเราผาพึ่งจะเห็นรูปร่างที่แตกต่างออกไปจะเห็นส่วนข้างในจะมีเนื้อหามีเมล็ด

     👉    สเปคกับเวลา เช่น   การวิ่งในสนามการวิ่งในระยะสั้นแต่ใช้เวลานานเท่ากับว่าเราวิ่งช้าแต่ถ้าใช้ระยะเวลาที่เร็วและสถานที่กว้างแสดงว่าเราวิ่งเร็ว



        🌈 6. ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล 

                   หมายถึง   การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตุ การวัด การทดลอง มาจัดกระทำใหม่ โดยอาศัยวิธีการต่างๆเช่น การจัดลำดับ การจัดหมวดหมู่ การคำนวณหาค่าใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้หรือให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลนั้นๆ ได้ดีขึ้น



          🌈 7. การลงความคิดเห็น 

                หมายถึงการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตุวัตถุหรือปรากฏการณ์ไปสัมพันธ์กับความรู้หรือประสบการณ์เดิมเพื่อลงข้อสรุปหรืออธิบายปรากฏการณ์หรือวัตถุนั้น



           🌈 8. การพยากรณ์    เป็นการคาดคะเนสิ่งต่างๆ

วิธีการสอน 

     👉   การพยากรณ์จะต้องมีประสบการณ์โดยครูจะต้องสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็กครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้คาดคะเนโดยการตั้งคำถามคำถามที่พบบ่อยคือ “เด็กเด็กคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้านำสิ่งนี้ไปผสมกับสิ่งนั้น”

ตัวอย่างการจัดกิจกรรม 

     👉   การทำมะม่วงกวน เป็นการใช้ความร้อนมาทำปฏิกิริยากับมะม่วงให้มะม่วงสุกจะทำให้มองอยู่ได้นาน
     👉   การทำกล้วยตาก เป็นการใช้ความร้อนมาทำปฏิกิริยากับกล้วยเพื่อช่วยดูดน้ำออกจากกล้วย





·     🍑 ทักษะขั้นสูงหรือทักษะขั้นผสม 5 ทักษะ 🍑 

    ได้แก่

     🌈 1. การตั้งสมมุติฐาน     เป็นการคิดหาคำตอบล่วงหน้าโดยมีกระบวนการ 5 ขั้น

👉 1.ตั้งประเด็นปัญหา
👉 2.ตั้งสมมุติฐานหรือสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นล่วงหน้า
👉 3.ทำการทดลอง
👉 4.รวบรวมข้อมูล
👉 5.นำเสนอและอภิปราย


     🌈 2. การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ 

                หมายถึง การกำหนดความหมายและขอบเขตของคำต่างๆ นายสมมุติฐานที่ต้องการทดลองให้เข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตหรือวัดได้


      🌈 3. การกำหนดและควบคุมตัวแปร 

            หมายถึง การบอกถึง ตัวแปรต้น ตัวแปรตามและ ตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมุติฐาน


      🌈 4. การทดลอง 

           หมายถึงกระบวนการปฏิบัติการณ์เพื่อหาคำตอบของสมมุติฐานที่ตั้งไว้หรือความสามารถในการดำเนินการตัวสมมุติฐานโดยการทดลอง


      🌈 5. ทักษะการแปลความหมายข้อมูล 

            หมายถึงการตีความหมายหรือการบรรยายลักษณะเพื่อสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด




 🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺


🍑 คำศัพท์ 🍑


1. Environment  สิ่งแวดล้อม
2. Nature around ธรรมชาติรอบตัว
3. Facilitators  ผู้อำนวยความสะดวก
4. Scientific skills ทักษะทางวิทยาศาตร์
5. Classification  การจำแนกประเภท
6. Interpretation  การสือความหมาย
7. Comment  การลงความคิดเห็น 
8. Predictions  การพยากรณ์
9. Variable  ตัวแปร
10. Hypothesis สมมติฐาน



🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺



🍑 ประเมิน 🍑


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์จะอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจไปพร้อมๆกัน เมื่อมีส่วนไหนที่ไม่เข้าใจ อาจารย์จะหาตัวอย่างเหตุการณ์ต่างๆมาเสริม แล้วจึงค่อยไปทีละเรื่อง 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนดี และคอยช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์ แม้จะถูกบ้าง ผิดบ้างก็ตาม

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และจดตามที่อาจารย์สอน และพยายามหาคำตอบตามคำถามของอาจาร์



 🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺









วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

🐢 บันทักการเรียนรู้ครั้งที่ 5 🐢



🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍


🐢 ความรู้ที่ได้รับ 🐢

        วันนี้อาจารย์ให้ไปเข้าร่วมกิจกรรม ศึกษาศาสตร์วิชาการ ภายในกิจกรรมจะมีนักศึกษาของแต่ละสาขา มาจัดกิจกรรมเพื่อใหความรู้ในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 

👶 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 👶
          
          สำหรับสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยจะเป็นการจัดการให้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับ ในหลวงกับการศึกษาของไทย และ เรื่องของความเป็นมาของการศึกษาปฐมวัย 

         การดำเนินกิจกรรมก็เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้ ได้แก่
1. กิจกรรมการดมกลิ่นปริศนา
2. กิจกรรมปิดตาชิมรสชาติ
3. กิจกรรมจำภาพให้ได้ภายใน 10 วินาที
4. กิจกรรมจับสิ่งปริศนาในกล่อง





🏀 สาขาวิชาพละศึกษา 🏀

          จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของสาขาวิชาพละศึกษา และเป็นการให้ความรู้ในเรื่องของเพศศึกษา และ มีการแจกถุงยางอนามัย

          โดยมีกิจกรรมดังนี้
1. เกมส์โยนห่วงหรรษา
2. เกมส์ชิงธง 





🎭 สาขาวิชาจิตวิทยา 🎭

          เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับ การศึกษากับรัชกาลที่ ๑๐ , จิตวิทยาเชิงบวก , อิทธิพลทางจิตวิทยา และ เทคนิคการพัฒนาความสุขตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก

          โดยมีกิจกรรมดังนี้ 
1. กิจกรรมจับไข่ตอบคำถาม 







💻 สาขาวิชาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ 💻

          เป็นการให้ความรู้ผ่านเกมส์ที่เล่น เป็นกิจกรรมการตอบคำถามผ่าน quizizz ซึ่งมีความถามแยกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ เช่น ภาษาไทย อังกฤษ พลศึกษา เป็นต้น 





🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍🍍





          






วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2562

🚀 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 🚀







🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁


งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 
2562

ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี




🚀 ความรู้ได้รับ 🚀

          จากสัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ได้มอบหมายงานให้มาศึกษษดูงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่  
" งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2562 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี " ซึ่งภายในงานจะมีการจัดบูธให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ มากมาย 


 🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁


🚀 นิทรรศการเทิดพระเกียรติ 🚀

          จัดแสดง พระอัจฉริยภาพ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พระอัจฉริยภาพพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เป็นคุณูปการต่องานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการศึกษาของประเทศไทย






🚀 ภารกิจพิชิตดวงจันทร์ 🚀

          ร่วมฉลอง 50 ปี แห่งภารกิจการพิชิตดวงจันทร์ มีรอบฉายให้ดูการสำรวจดวงจันทร์ ให้ลองใส่ถุงมือมนุษย์อวกาศดูว่าเวลาขึ้นไปอยู่ในอวกาศเขาหยิบจับอะไรยากแค่ไหน มีให้เล่นวงล้อโมเมนตัมหรือแม้กระทั่งมูนวอล์คที่ให้เราได้ไปเดินเสมือนเดินอยู่บนดวงจันทร์




🚀พลังขับเคลื่อนโลก 🚀

          พบเรื่องราวของบุรุษผู้เป็นนักคิด นักประดิษฐ์ และนักวิทยาศาสตร์ นิโคลา เทสลา อัจฉริยะชาวโครเอเชีย ผู้ปูพื้นฐานแห่งระบบไฟฟ้ากระแสสลับและเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้กับโลกในปัจจุบัน จุดนี้จะมีโมเดลการเกิดพลังงานไฟฟ้าแบบง่าย ๆ ที่เราและเด็ก ๆ จะได้มีส่วนร่วม เช่น กดปุ่มแล้วมีประจุไฟฟ้า หรือว่าการหมุนทำแหล่งกำเนิดไฟฟ้าเพื่อที่จะให้ดวงไฟติด




🚀 มหัศจรรย์เมืองแห่งธาตุ 🚀

          นำเสนอ "ธาตุ" ตามสมบัติที่โดดเด่นของหมวดหมู่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ในบรรยากาศตื่นตาตื่นใจที่แสดงถึงลักษณะและสมบัติของธาตุที่โดดเด่นในหมวดหมู่นั้น ๆ มีกิจกรรม ทดสอบสีเปลวไฟของธาตุ Calcium in Water , ก๊าซเปลี่ยนสี , บิงโกตารางธาตุ , มหัศจรรย์ไนโตรเจนเหลว




🚀 พินิจ พิพิธ-พันธุ์ 🚀

          เรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพผ่านการจัดแสดงในรูปแบบของ Collection base ในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาจำพวกสัตว์สตาฟ รวมถึงสัตว์ที่ดองไว้ในขวดโหลมากมาย







🚀 พลาสติกพลิกโลก 🚀

          แสดงให้เห็นถึงการนำพลาสติกต่าง ๆ มาแปรรูปให้เกิดประโยชน์ หรือแม้กระทั่ง เอาผักตบชวา มาทำภาชนะโดยที่ไม่ใช้สารเคมี

          ทุกคนสามารถร่วมมือกันแก้ปัญหาขยะพลาสติกได้โดยเริ่มที่ตัวเราเพียงใช้อย่างเหมาะสม ใช้เท่าที่จำเป็น และจัดการอย่างถูกวิธี ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี








🚀 ข้าวคือชีวิต 🚀

          นำเสนอความสำคัญของข้าวต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในเขตภูมิภาคหนึ่งของโลก มีการจำลองวิถีการทำนา ตั้งแต่การไถนา การหว่านข้าว การดำนา จนถึงการสีข้าว ผ่านชิ้นงานแบบสื่อสัมผัส น้อง ๆ จะได้เล่น และเรียนรู้ ด้วยการลงมือทำ






🚀 ย้อนอดีตสิ่งประดิษฐ์พลิกความคิดสู่อนาคต 🚀

          นิทรรศการและกิจกรรมนำเสนอถึงการย้อนไปในอดีตของสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์เปลี่ยน เรียนรู้วิวัฒนาการของสิ่งประดิษฐ์ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์





🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁🚁